logo

5 วิธี เปลี่ยนการเรียนรู้แบบเก่า ๆ มาเป็น Bite-sized learning ที่ได้ประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

เรื่องของการปรับตัวในการเริ่มทำงานที่ใหม่นั่น ถือเป็นเรื่องที่สร้างความไม่มั่นใจให้กับพนักงานใหม่เป็นอย่างมาก เนื่องจากน้องใหม่อาจยังไม่รู้วัฒนธรรมองค์กร ยังไม่รู้ลักษณะนิสัยของหัวหน้า หรือเพื่อนร่วมงานมากเพียงพอ ทำให้ไม่กล้าที่จะเป็นตัวของตัวเอง แต่ก็มีความรู้สึกอึดอัดหากต้องพยายามโอนอ่อนผ่อนตามไปตลอด

ทั้งนี้ ช่วงเวลาที่สร้างความไม่มั่นใจว่า จะเป็นตัวของตัวเองได้มากแค่ไหน? กลับไม่ใช่ช่วงเวลาของการทำงาน แต่เป็นช่วงเวลาอื่นๆ เช่นการพักเบรก หรือหลังเลิกงาน ที่เป็นเช่นนั้นเพราะในขณะที่ทำงาน ทุกคนมีหน้าที่ มีความรับผิดชอบ เป็นตัวกำกับพฤติกรรมในการอยู่ร่วมกันอยู่แล้ว หากแต่ในตอนพักเบรก หรือตอนเลิกงาน กลับเป็นช่วงเวลาที่น้องใหม่หลายคนไม่มั่นใจ ว่าจะเป็นตัวของตัวเองได้แค่ไหน ต้องโอนอ่อนผ่อนตามไปตลอด หรือ หากปฏิเสธออกไป จะถูกมองไม่ดีหรือไม่ ?

ยกตัวอย่างเช่นการพักเที่ยง น้องใหม่บางคน อาจยังรู้สึกอยากมีช่วงเวลาส่วนตัว หรือ อยากทานข้าวคนเดียว ในขณะที่ก็ไม่มั่นใจว่าหากถูกเพื่อนร่วมงานชวนไปด้วยกัน เราควรปฏิเสธหรือต้องยอมทำตาม

หรือ วัฒนธรรมของแผนก จะต้องมีการไป Hangout หลังเลิกงาน ซึ่งบางคนก็อยากกลับบ้าน หรือ ไม่ได้อยากเที่ยวต่อ ก็มักจะเกิดความลังเลว่าจะสามารถเป็นตัวของตัวเองได้มากแค่ไหน?

เรื่องเหล่านี้เรามีคำแนะนำเรื่องของการปรับตัวสำหรับพนักงานใหม่รวมทั้งคนทั่วไปดังนี้

1. เปิดใจ ปรับตัว : ที่ทำงานก็คือสังคมๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีใครสามารถเป็นตัวเองได้100% การปรับตัวในช่วงแรกถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะไม่มีใครสามารถรู้ว่าเราเป็นคนอย่างไร หากเราไม่ยอมเข้าสังคม และเราก็ไม่สามารถรู้ได้ว่าเพื่อนร่วมงานเป็นคนแบบไหน หากเราไม่มีพื้นที่ที่จะแสดงออก

ดังนั้น ในช่วงแรกเริ่ม เราจำเป็นต้องวางตัวตนบางส่วนลง และยืดหยุ่นกับทุกคนเพื่อเปิดโอกาสให้ตนเองได้เรียนรู้เพื่อนร่วมงาน และ ให้เพื่อนร่วมงานได้เรียนรู้ความเป็นตัวเรา หลังจากนั้นเวลาจะช่วยให้แต่ละคนสามารถรับรู้นิสัยใจคอ และ ค่อยๆเป็นตัวของตัวเองได้ ในระยะที่เหมาะสม

2. เปลี่ยนพื้นที่อึดอัดให้เป็นเวที : ในช่วงแรกของการเข้าสังคมใหม่ อาจจะนำมาซึ่งความอึดอัดได้เป็นเรื่องปกติ แต่หากเราลองเปลี่ยนมุมมองว่า ความอึดอัดที่เราต้องยอมเข้าสังคมที่ไม่อยากเข้านั้น อาจจะเป็นเวทีให้เราสามารถแสดงความเป็นตัวเองออกมาได้ และ สามารถรับรู้ความเป็นตัวเองของผู้อื่นได้ด้วยเช่นกัน

เช่น การไปทานข้าวร่วมกัน หรือ ไปHangout หลังเลิกงานในบางครั้ง เราอาจจะได้รู้ว่า เพื่อนร่วมงานบางคนชอบวิจารย์ ในขณะที่บางคนชอบรับฟัง หรือ แม้แต่บางคนชอบทานอาหารประเภทเดียวกับเรา ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างการเรียนรู้ระหว่างกัน และ ค่อยๆ คัดกรองเพื่อนร่วมงานเคมีเข้ากันได้ให้เราได้เร็วขึ้น ส่งผลให้เราสามารถเป็นตัวของตัวเองได้เร็วขึ้นด้วย

3. เคารพในความแตกต่างซึ่งกันและกัน : เคยมีคำกล่าวของผู้เชี่ยวชาญด้าน Conflict Management กล่าวไว้ว่าในโลกแห่งความจริง ยิ่งผู้คนมากเท่าไหร่ ความคิดเห็นที่เหมือนกันยิ่งน้อยลงเท่านั้น” (ดร.นิชานท์ สิงหพุทธางกูร) ซึ่งในโลกของการทำงาน ถือเป็นสังคมใหญ่ ที่ผู้คนอยู่ร่วมกันมากที่สุดสังคมหนึ่ง จึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด หากแต่ละคนจะมีความชอบที่แตกต่างกัน มี Lifestyle ที่แตกต่างกัน เพียงแต่เราจำเป็นต้องเคารพ และหาทางอยู่ร่วมกันให้ได้ อย่างไม่ตัดสิน หรือบังคับให้ใครต้องเปลี่ยนตามใคร เราสามารถอยู่ร่วมกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องชอบเหมือนกันทุกเรื่อง

4. มีเส้นที่ชัดเจน : แม้ว่าการปรับตัว และการยืดหยุ่นจะเป็นเรื่องสำคัญในการเข้าสังคม แต่ก็ไม่ใช่ความผิดอะไรหากเราจะมีเส้นแบ่งของตัวเองว่า หากเป็นในบางเรื่องนั้นฉันจะไม่ทำเช่น ถ้าเรื่องนั้นเป็นเรื่องที่ส่งผลเสียต่อชีวิต ต่ออนาคต หน้าที่การงานอย่างรุนแรง หรือผิดกฎหมาย น้องใหม่ก็มีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธได้ โดยหาวิธีปฏิเสธที่ไม่ก้าวร้าวแต่ชัดเจน เพื่อแสดงความเป็นตัวตนในทางที่ถูก ทั้งนี้ เราอาจไม่เข้าไปก้าวก่ายหรือ ตัดสินหากคนอื่นจะทำ เพียงแค่เรายืนหยัดที่จะปฏิเสธสิ่งที่ไม่ดีกับตัวเราเท่านั้น

ท้ายนี้ ปัญหาเรื่องการปรับตัวและการเข้าสังคม ไม่ได้เกิดขึ้นกับแค่พนักงานใหม่เท่านั้น แต่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ซึ่งก็สามารถนำไอเดียทั้ง 4 ข้อนี้ไปเป็นแนวทางปฏิบัติในการทำงานหรือการอยู่ร่วมกันได้โดยไม่รู้สึกอึดอัดจนเกินไปและไม่ต้องโอนอ่อนผ่อนตามจนไม่เหลือความเป็นตัวเอง

เราแค่ต้องปรับตัวอย่างสมดุลและยืดหยุ่นให้ถูกเรื่อง ถูกเวลาก็เท่านั้น

เครดิต : เนื้อหาบางส่วน สรุปจากTHE STANDAR Podcast [I hate my job EP.19]

Facebook
Twitter
LinkedIn
Email

Get a Demo

Your Information
About Company
Book a Demo
Your Information
About Company
Book a Demo