top of page

Purpose-Driven Organizations กลยุทธ์ที่ HR ต้องปรับใช้ กู้คืนแรงบันดาลใจให้พนักงาน


ในสถานการณ์ปัจจุบัน นอกจากองค์กรต่างๆ ต้องมุ่งเน้นในเรื่องการจัดการทำงานแบบผสมผสาน (Hybrid Working) ในขณะที่มุมมองของพนักงาน นอกจากจะมีความกังวลในรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป พวกเขายังใส่ใจในวัตถุประสงค์ของงานที่ทำอยู่ด้วย


ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มุมมองของพนักงานต่อการทำงานเปลี่ยนแปลงไปนั้น ก็มาจากสถาการณ์การแพร่ระบาดที่ทำให้ชีวิตการทำงานนั้นไม่เหมือนเมื่อก่อน อย่างเช่นคนงานในสหรัฐอเมริกา 63% ยอมรับว่า การระบาดใหญ่ได้เปลี่ยนลำดับความสำคัญของพวกเขาไปอย่างมาก และผลสำรวจจากหลายจากที่มาก็เป็นไปในทิศทางเดียวกันว่า เมื่อสถานการณ์โควิดเริ่มเบาบาง จะเกิดการลาออกอย่างมหาศาล (Great Resignation) ยกตัวอย่างในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 มีคนงานมากกว่า 15 ล้านคนลาออกจากงาน


และให้ให้ HR และองค์กรสามารถรับมือกับปัญหาดังกล่าวข้างต้น WellExp จึงขอแนะนำแนวคิดที่เรียกว่า Purpose-Driven Organizations หรือองค์กรที่ขับเคลื่อนโดยจุดมุ่งหมาย เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมให้พนักงานรู้สึกผูกพันและภักดีกับองค์กรมากขึ้น


Purpose-Driven Organizations คืออะไร?

Purpose-Driven Organizations คือเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่เป็นรูปธรรม ที่องค์กรจะได้นอกเหนือจากผลกำไรสูงสุด เป็นความเชื่อขององค์กรที่ใช้ร่วมกัน เป็นแนวทางการทำงานของพนักงาน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับภารกิจที่อธิบายว่าองค์กร "ทำอะไร" เพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุด จุดประสงค์ขององค์กรก็คือการอธิบายเพิ่มเติมว่า เราทำเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายนั้น “ทำไม”


ข้อดีของการสร้าง Purpose-Driven Organizations

1. การทำงานโดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนจะเป็นประโยชน์ต่อการมีส่วนร่วมของพนักงานเป็นอย่างมาก เมื่อพนักงานได้เข้าใจเหตุผลที่พวกเขาต้องทำเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมาย ก็จะสามารถช่วยให้พนักงานรู้สึกว่าพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าจุดประสงค์มุ่งเน้นไปยังตัวพนักงานเป็นสำคัญ และสิ่งๆ นั้นสอดคล้องกับค่านิยมของพนักงาน


2. เมื่อมีวัตถุประสงค์ที่แน่ชัด ย่อมนำไปสู่การวางแผนการดำเนินการได้อย่างเหมาะสม เพราะจะทำให้องค์กรได้คิดถึงปัจจัยหลักหรือตัวเลือกที่ครอบคลุมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อสร้างเส้นทางขององค์กรให้เติบโตไปอย่างยั่งยืนได้


3. เมื่อวัตถุประสงค์แน่ชัด ก็ลดความขัดแย้งได้มากขึ้น เพราะการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ที่มักถกเถียงกัน จะสามารถจบได้หากวิธีการนั้นสอดคล้องกับจุดประสงค์ขององค์กร


4. สร้างสถานการณ์แบบวิน-วิน เพราะการขับเคลื่อนองค์กรตามวัตถุประสงค์ไม่เพียงแต่ทำให้เป้าหมายขององค์กรชัดเจน แต่ยังช่วยให้เกิดการมีส่วนร่วมและจูงใจคนร่วมอุดมคติ เป็นเครื่องมือสรรหาพนักงานและลดอัตรการลาออกชั้นดี เมื่อพนักงานรู้สึกภาคภูมิใจในสิ่งที่พวกเขาทำ พวกเขาก็พร้อมยืนหยัดไปกับสิ่งที่องค์กรยึดมั่น

สร้างองค์กรที่ขับเคลื่อนตามวัตถุประสงค์ได้อย่างไร?

1. มองหาความเป็นเลิศ โดยอาจเริ่มต้นด้วยการหาตัวอย่างเชิงบวก เช่น บุคคล ทีม หน่วยงานที่น่ายกย่อง ที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจได้ จากนั้นตรวจสอบจุดประสงค์ที่ขับเคลื่อนความเป็นเลิศ และลองจินตนาการว่าสิ่งนี้จะช่วยส่งเสริมแรงบันดาลใจให้พนักงานได้อย่างไร


2. สำรวจวัตถุประสงค์ของพนักงาน ผ่านการเอาใจใส่ ใช้ความรู้สึกและเข้าใจถึงความต้องการทั่วไปที่ลึกที่สุดของพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นการสังเกต การทำแบบทดสอบหรือการโหวต เพื่อทำความเข้าใจพนักงานในองค์กรให้ได้มากที่สุด


3. พฤติกรรมควรเป็นไปในทางเดียวกัน เมื่อองค์กรประกาศได้ประกาศถึงวัตถุประสงค์และค่านิยมร่วมกัน ทั้งผู้บริหารและพนักงานควรประพฤติไปในทางเดียวกัน เพื่อให้พนักงานได้เห็นเป็นแบบอย่างและเชื่อมั่นในสิ่งที่ทำมากขึ้น


4. สื่อสารจุดประสงค์ด้วยความถูกต้องและสม่ำเสมอ ชี้แจงจุดประสงค์ของการทำงาน ปฏิเสธวิธีการที่ไม่ได้สะท้อนถึงวัตถุประสงค์ จากนั้นสร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามวัตถุประสงค์นั้น ก็จะทำให้พนักงานรับรู้ถึงความมุ่งมั่นขององค์กรและค่อยๆ ซึบซับความเชื่อให้เกิดไปในทิศทางเดียวกัน


5. กระตุ้นการเรียนรู้ส่วนบุคคล เมื่อตั้งวัตถุประสงค์ สิ่งที่ตามมาคือการเรียนรู้เพื่อที่จะสามารถทำให้บรรลุถึงจุดประสงค์นั้นได้ ดังนั้นการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะของพนักงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้พนักงานได้รู้สึกว่าองค์กรให้ความเชื่อมั่นและสนับสนุน พนักงานก็จะสามารถทำงานได้อย่างมั่นใจในศักยภาพที่ได้เพิ่มพูนและมีความมุ่งมั่นทำเพื่อองค์กรมากขึ้น


6. เปลี่ยนผู้จัดการระดับกลางให้เป็นผู้นำที่ขับเคลื่อนด้วยจุดมุ่งหมาย เพราะการสร้างทีมงานที่มีแรงบันดาลใจและมุ่งมั่นนั้น ต้องอาศัยบุคคลที่อยู่ตรงกลางระหว่างองค์กรกับพนักงานอย่างผู้จัดการระดับกลาง ในการเชื่อมโยงจุดประสงค์ขององค์กรกับพนักงานเข้าด้วยกัน

7. เชื่อมโยงพนักงานเข้ากับวัตถุประสงค์ โดยอาจสร้างเป็นกิจกรรมการมีส่วนร่วมของพนักงาน เช่น ตั้งกิจกรรมตอบคำถามว่างานที่ทำช่วยให้สังคมหรือลูกค้าดีขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และให้พนักงานเข้ามาตอบให้ตรงตามวัตถุประสงค์ สิ่งนี้จะช่วยกระจายการสื่อสารไปยังพนักงานด้วยกันเอง และสามารถใช้เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดในการสร้างแบรนด์ได้


8. ปลดปล่อยพลังบวก โดยสรรหาบุคลากรตัวอย่างที่เต็มไปด้วยพลังงานบวก โดยให้พนักงานเหล่านั้นเป็นหน่วยสนับสนุน สร้างแรงบันดาลใจให้คนในองค์กรอีกทางหนึ่งได้


พนักงานที่ได้รับความสำคัญและมีความหมายจากงานของพวกเขา มีแนวโน้มที่จะอยู่กับองค์กรมากขึ้นถึง 3เท่า มีความพึงพอใจในงานที่สูงขึ้น 1.7 เท่า และมีส่วนร่วมมากขึ้นในที่ทำงาน 1.4 เท่


ผลสำรวจนี้ล้วนเป็นสิ่งยืนยันว่า Purpose driven organization นับเป็นแนวคิดที่สำคัญที่ HR และองค์กรควรนำมาปัดฝุ่นปรับใช้เพื่อรับมือกับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่พนักงานไม่เพียงต้องการค่าตอบแทน แต่พวกเขายังต้องตอบคำถามว่าสิ่งที่พวกเขาทำอยู่นั้นดีต่อตนเอง ต่อสังคม และต่อองค์กรอย่างไร หากองค์กรสามารถสร้างวัตถุประสงค์และปรับพฤติกรรมให้เป็นไปในแนวทางนั้นได้ พนักงานก็พร้อมเรียนรู้ ปรับตัวและพัฒนาตนเองเพื่อให้ให้ถึงเป้าหมายที่องค์กรได้วางไว้


ข้อมูลอ้างอิง

https://www.aihr.com/blog/purpose-driven-organization-hr/

https://hbr.org/2018/07/creating-a-purpose-driven-organization

https://www2.deloitte.com/us/en/insights/topics/marketing-and-sales-operations/global-marketing-trends/2020/purpose-driven-companies.html

https://hrdailyadvisor.blr.com/2019/12/23/what-is-a-purpose-driven-culture/

https://www.hec.edu/en/faculty-research/centers/society-organizations-institute/think/so-institute-executive-factsheets/how-create-purpose-driven-organizations

bottom of page