
เมื่อพูดถึง Flexible Benefits แล้วนั้น หลายๆ คนก็มักจะคิดถึงเรื่องสวัสดิการหลักๆ อย่างด้านสุขภาพว่าเป็นกลุ่มที่สามารถนำมาให้พนักงานใช้พิจารณาเลือกตามความยืดหยุ่นของตัวเอง แต่ในความจริงแล้วก็ยังมีอีกหลายกลุ่มสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ซึ่งสามารถนำมาให้เป็นตัวเลือกของ Flexible Benefits ได้เหมือนกัน
กลุ่มสิทธิประโยชน์ด้านการทำงาน
· จำนวนวันทำงาน เช่น ทำงานกี่วันต่ออาทิตย์ เข้างานช่วงเวลาไหน
· จำนวนวันลา / ประเภทของวันลา เช่น มีวันลากี่วัน ลาแบบไม่รับเงินเดือนได้กี่วัน
· โบนัส เช่น เป็นโบนัสแบบระบุชัดเจน โบนัสตามประเมิน หรือโบนัสตามผลประกอบการ
· ค่าเดินทาง / ค่าน้ำมัน
· ยานพาหนะสำหรับพนักงาน
· ค่าที่จอดรถสำหรับพนักงาน
· อุปกรณ์สื่อสาร
· ค่าโทรศัพท์ / อินเทอร์เน็ต
· อุปกรณ์ในการทำงาน เช่นคอมพิวเตอร์
· การสนับสนุนด้านการพัฒนาทักษะและเรียนรู้ เช่น เงินทุนสำหรับเรียนคอร์สอบรมต่างๆ
กลุ่มสิทธิประโยชน์ด้านการเงิน
· กองทุนสะสมทรัพย์
· ประกันชีวิต
· ความช่วยเหลือด้านการเงินเช่นเงินกู้แบบต่างๆ เงินกู้ด้านการศึกษา
· โบนัสเมื่อเกษียณอายุหรือครบอายุงานที่กำหนด
กลุ่มสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพ
· ประกันสุขภาพแผนต่างๆ
· แผนคุ้มครองสุขภาพอื่นๆ เช่นทันตกรรม ตัดแว่น วัคซีน ฯลฯ
· การคุ้มครองครอบครัว

จะเห็นได้ว่าถ้าเรามองพิจารณากลุ่มสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของธุรกิจแล้ว ก็จะมีหลายมุมที่สามารถนำมาปรับให้กลายเป็น Flexible Benefits ได้ เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของพนักงานแต่ละคน หรือ แต่ละช่วงวัย เพื่อให้พนักงานได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง และ รูสึกว่า ได้มีโอกาส “เลือก” ที่จะใช้ หรือ ไม่ใช้ สิ่งที่บริษัทมีให้ รวมทั้งหากสามารถปรับเปลี่ยนจากสวัสดิการเดิม แลกเปลี่ยนกับสิ่งที่ต้องการใช้ประโยชน์จริงๆ ก็จะทำให้การให้สวัสดิการแบบยืดหยุ่นนั้น ดูเป็นรูปธรรมได้มากขึ้นกว่าที่เคยมีมา
ทั้งนี้ อาจจะต้องมีการปรับโครงสร้างการบริหารภายในหรือวิธีการดำเนินการด้านเอกสารต่างๆ ให้เหมาะสมและสอดคล้องไปกับการทำให้สิทธิประโยชน์เหล่านี้อยู่ในรูปแบบของ Flexible Benefits ได้นั่นเอง