
หลายองค์กรอาจประสบกับปัญหาเกี่ยวกับพนักงานขาดแรงจูงใจในการทำงาน มีพฤติกรรมที่ทำงานให้พ้นไปวันๆ ให้ความสำคัญกับผลตอบแทนสิ้นเดือนเท่านั้น รวมถึงไม่ให้การมีส่วนร่วมต่างๆ กับทางบริษัท ขาดความสัมพันธ์อันดีทั้งต่อเพื่อนร่วมงานและองค์กร
WellExp จึงมาแบ่งปันแนวคิดในการจัดการกับบุคลากรที่เรียกว่า Employee Centric หรือการที่องค์กรมุ้งเน้นการจัดการโดยให้พนักงานเป็นศูนย์กลาง และพัฒนากลยุทธ์และวิธีการตอบโจทย์เพื่อส่งเสริมข้อดีและแก้ปัญหาจุดที่สร้างความเจ็บปวด (pain point) เพื่อให้พนักงานมีพฤติกรรมที่ตอบโจทย์และเป็นประโยชน์ต่อองค์กรมากขึ้น
โดยการสร้างวัฒนธรรมองค์กรในแบบพนักงานเป็นศูนย์กลางนั้น จะเป็นองค์กรที่มีสภาพแวดล้อมที่พนักงานรู้สึกปลอดภัยและมีอิสระในการนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ สามารถสื่อสารความรู้สึกได้ตรงกับความต้องการ มีความเต็มใจและกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเอง และมีความภาคภูมิใจในตนเอง ที่ได้เห็นความสำเร็จขององค์กรที่ตนเองได้มีส่วนร่วม
เมื่อพนักงานรู้สึกว่าองค์กรนั้น ตอบสนองความต้องการของตนได้อย่างดีที่สุด สิ่งเหล่านี้จะเสริมสร้างประสบการณ์เชิงบวกของพนักงาน กระตุ้นให้พนักงานมีส่วนร่วม มีแรงจูงใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อดีของการมุ่งเน้นพนักงานเป็นศูนย์กลาง
- สามารถเพิ่ม Productivity ได้ เพราะเมื่อพนักงานมีความสุขในงานที่ทำ พวกเขาก็จะใส่ใจและให้การมีส่วนร่วมกับงานมากที่สุด รวมถึงให้การทุ่มเทเพื่อการผลิตผลงานที่ท้าทายออกมาให้เป็นที่ยอมรับ และเพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการทำงานทำงานของพวกเขา
- พนักงานมีศักยภาพเหมาะสมกับงานมากขึ้น ด้วยการที่องค์กรนั้นส่งเสริมให้พนักงาน เข้าใจในจุดแข็งจุดอ่อนของตนเอง นอกจากจะทำให้องค์กรมอบหมายงานได้ตรงกับศักยภาพ ตัวพนักงานนั้นก็สามารถให้การทุ่มเทและทำงานที่ตนเองถนัดได้อย่างมีความสุข นอกเหนือจากนั้น ยังเป็นการช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกันภายในทีมตามศักยภาพของแต่ละคน และช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ของคนในทีมและในองค์กรได้
- ช่วยดึงดูด Talent ใหม่ ๆ ได้ หากองค์กรนั้นดึงดูดด้วยสิทธิประโยชน์ที่ตรงใจและตรงกับความต้องการของพนักงาน รวมไปถึงเป็นองค์กรที่เปิดโอกาสให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่างๆ และหากข้อเสนอแนะนั้นได้รับการยอมรับและได้นำไปใช้ในการขับเคลื่อนองค์กร พนักงานก็จะยิ่งรับรู้ถึงความมุคุณค่าของตัวเองต่อองค์กร และจะยิ่งมีแรงจูงใจมากขึ้นหากงานที่ทำนั้นได้ผลตอบกลับหรือผลตอบแทนในทันที
- ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ หากพนักงานในองค์กรนั้นรู้สึกเป็นส่วนสำคัญขององค์กร พวกเขาจะทุ่มเทในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า ด้วยการส่งผ่านความเชื่อ ค่านิยม และให้บริการและแนะนำสินค้าขององค์กรได้เป็นอย่างดี ด้วยความจริงใจและกระตือรือร้น
7 วิธีการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งเน้นพนักงานเป็นศูนย์กลาง
1. มองพนักงานเปรียบเสมือนเป็นผู้บริโภค (View employees as consumers)
ในฐานะองค์กรและ HR ควรมองพนักงานให้เปรียบเสมือนเป็นลูกค้าของบริษัท ที่มีความต้องการได้รับการดูแล เอาใจใส่ ได้รับคุณค่าจากสิ่งที่ได้ทำ ได้รับการตอบแทนที่สมเหตุสมผล และได้ประโยชน์จากการทุ่มเทกำลังในทำงาน รวมถึงได้เติบโตไปเส้นทางอาชีพ ด้วยเหตุนี้องค์กรและ HR ควรประยุกต์ใช้ กระบวนการความคิดเชิงออกแบบ ที่จะมาพัฒนาองค์กรที่พนักงานเป็นศูนย์กลาง ด้วยการมุ่งเน้นในการสร้างประสบการณ์ทำงานที่คุ้มค่าให้เกิดกับพนักงานโดยเริ่มได้ด้วย 4 ขั้นตอน
1.1 เน้นไปที่พนักงานเป็นลำดับแรกด้วยการพยายามทำความเข้าใจความต้องการและความเจ็บปวดของพนักงาน
1.2 ต่อจากนั้นพยายามบ่งชี้ถึงปัญหา
1.3 ระดมความคิดและคัดเลือกแนวคิดและทองออกที่ดีที่สุด
1.4 สร้างต้นแบบนำร่องเพื่อทดลองว่าสิ่งไหนดีและสิ่งไหนไม่ได้ผล
2. พัฒนาการทำงานในรูปแบบดิจิทัล (Digital employee experience)
เนื่องจากองค์กรในปัจจุบัน ต้องปรับเปลี่ยนการทำงานเป็นรูปแบบ Hybrid และ Remote มากขึ้น ด้วยเหตุนี้ องค์กรควรส่งเสริมให้เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในการทำงานมากขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้พนักงานได้จัดการงานอย่างมีประสิทธิภาพ
อาทิ ใช้เครื่องมือการจัดการกระบวนการและโครงการผ่าน Trello, Asana, Zapier ใช้เครื่องมืออำนวยความสะดวกในการสื่อสารภายในทีมผ่าน Zoom หรือ Microsoft Meetings และการเข้าถึงบริการ HR รวมถึงให้สวัสดิการผ่าน WellExp เป็นต้น
3. ขอ feedback และปรับแก้ตามนั้น (Ask for and act on feedback)
เมื่อพูดถึงคำติชมในการกระบวนการทำงาน หรือข้อเสนอแนะต่างๆ HR และองค์กรควรสอบถามโดยตรงต่อพนักงาน เพื่อนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ว่าสิ่งไหนดีและสิ่งไหนเป็นประโยชน์ที่สามารถนำไปปรับใช้และพัฒนาองค์กรได้
โดยสามารถใช้วิธีการสัมภาษณ์ตัวต่อตัว เพื่อรับฟังข้อมูลเจาะลึกจากพนักงาน หรือหากเป็นองค์กรใหญ่ก็สร้างแบบสอบถามผ่านแอปพลิเคชันส่งตรงไปยังพนักงานได้
ตัวอย่างคำถาม
-จงอธิบายประสบการณ์ทำงานกับองค์กรที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไร ตอบโจทย์ความต้องการหรือไม่
-แนวคิดใดหรือวิธีการทำงานแบบใดที่อยากให้นำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร
-คุณรู้สึกมีคุณค่ากับองค์กรในสิ่งที่คุณทำหรือไม่ ในระดับใด 1 ถึง 5 (1 = น้อยที่สุด 5 = มากที่สุด) จงอธิบาย
-อยากให้องค์กรเปลี่ยนแปลงอะไรเพื่อปรับปรุงประสบการณ์การทำงานของพนักงาน
-ในระดับ 1 ถึง 5 (1 = น้อยที่สุด 5 = มากที่สุด) คุณจะให้คะแนนประสบการณ์การทำงานของคุณกับองค์กรในระดับใด
4. ส่งเสริมความปลอดภัยทางจิตใจ (Psychological safety)
ต่อจากข้อที่แล้ว เมื่อองค์กรหรือ HR ขอความคิดเห็น พนักงานต้องรู้สบายใจและมีอิสระในการพูดโดยไม่ต้องกังวลว่าจะถูกลงโทษหรือตราหน้า ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยทางจิตใจเพื่อให้พนักงานกล้าเสนอแนะ และมีโอกาสเติบโตในเส้นทางอาชีพ
โดยองค์กรและ HR ต้องเริ่มส่งเสริมความเคารพในสิทธิ์ต่างๆ ในการเป็นพนักงาน ให้การเคารพซึ่งกันและกัน เป็นผู้นำโดยเปิดใจรับฟังความคิดเห็นต่างๆ และส่งเสริมความเท่าเทียมกันในที่ทำงาน รวมไปถึงเคารพต่อความหลากหลายในที่ทำงานด้วย(DEIB)
ตัวอย่างเช่น คำแนะนำต่างๆ ที่พนักงานได้เสนอแนะจะถูกเก็บความลับ หรือไม่ระบุถึงตัวตนเป็นต้น
5. พัฒนาระบบให้รางวัลและผลตอบแทน (Employee reward system)
จากข้อที่กล่าวมา เมื่อพนักงานในองค์กรมีความหลากหลาย ทั้งเพศสภาพ เชื้อชาติ อายุ ดังนั้นความต้องการของแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน สิ่งที่องค์กรและ HR ควรให้ความสำคัญคือสิทธิประโยชน์หรือผลตอบแทน ที่สามารถตอบสนองความต้องการของพนักงานที่แตกต่างกันได้
โดยสิทธิประโยชน์ที่ว่าต้องครอบคลุมทุกด้านของการใช้ชีวิต เพื่อให้พนักงานได้เลือกสรรสิ่งที่สามารถเป็นประโยชน์ตอบโจทย์วิถีชีวิตของแต่ละคน เช่น บางคนอาจอยากได้สิทธิประโยชน์ที่ช่วงแบ่งเบาค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าชำระบิลต่างๆ หรือเป็นสิทธิประโยชน์ที่สามารถที่สามารถใช้ผ่านออนไลน์ได้
6. ส่งเสริมการเติบโตของพนักงาน (Employee grow)
จากผลสำรวจพบว่า 58% ของคนรุ่นมิลเลนเนียล และ 52% ของคน Gen Z บ่งชี้ว่าการประสบความสำเร็จในอาชีพการงานนั้น ขึ้นอยู่กับการเพิ่มทักษะใหม่และพัฒนาทักษะเดิมอย่างต่อเนื่อง โดยพนักงานจะรู้สึกว่าตนเองถูกเติมเต็ม และมีแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองมากขึ้น
ดังนั้นองค์และ HR ควรให้ความสำคัญในการพัฒนารูปแบบโปรแกรม Learning & Development ให้ตอบโจทย์กับศักยภาพพนักงานแต่ละคน มีรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของบทเรียน ระยะเวลา และช่องทางการเรียน เพื่อตอบโจทย์พนักงานที่มีศักยภาพและความต้องการต่างกัน
7. ให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน (Employee Well-being)
ในการให้ความสำคัญในด้าน Well-being นั้น องค์กรและ HR ควรคำนึงถึงให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน ไม่ว่าจะเป็น สุขภาพกาย สุขภาพใจ สุขภาวะทางอารมณ์และสุขภาพทางการเงิน
โดยองค์กรสามารถเริ่มด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน มีสิ่งอำนวยความสะดวก มีแสงสว่างเพียงพอ มีอุปกรณ์การทำงานที่ครบครัน มีนโยบายด้านความปลอดภัยที่เป็นไปตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มีสวัสดิการทางด้านอาหารที่สามารถตอบโจทย์พนักงานได้ในทุกรูปแบบการทำงาน ไม่ว่าจะเป็น Hybrid หรือ Remote
ส่งเสริมสุขภาพจิตใจด้วยการจัดการอบรมให้ความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดี ให้ความห่วงใยถามไถ่พนักงาน มีการให้รางวัลเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ และมีสวัสดิการที่แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของพนักงาน เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า การสร้างวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นพนักงานเป็นศูนย์กลางนั้น จะช่วยให้พนักงาน รู้สึกปลอดภัยในการนำเสนอความคิดเห็นต่างๆ รู้สึกถึงการมีคุณค่าต่อองค์กร รับรู้ได้ถึงการที่องค์กรให้ความสำคัญ ได้เห็นโอกาสความก้าวหน้าทางอาชีพที่องค์กรได้ส่งเสริม ได้รางวัลเป็นผลตอบแทนในการทำงานทันทีที่ผลงานนั้นประสบความสำเร็จ ซึ่งล้วนแล้วแต่ทำให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีความสุข มีแรงจูงใจในการทุ่มเทให้กับการทำงานในทุกวัน และยังสามารถสร้างความภักดีต่อองค์กรในตัวพนักงานได้
สิ่งที่องค์กรจะได้รับคือการรักษาพนักงานที่มีศักยภาพ รวมไปถึงสร้างเป็นจุดแข็งในการดึงดูด Talent ใหม่ๆ เพื่อเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและเติบโตไปด้วยกันกับองค์กร
ข้อมูลอ้างอิง:
https://www.aihr.com/blog/employee-centric-culture/
https://www.business.com/articles/creating-an-employee-centric-company-culture-will-not-be-the-death-of-your-business