
เมื่อพูดถึงการทำการตลาดหรือสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รับรู้โดยทั่วไปนั้น บริษัทส่วนใหญ่อาจมุ่งเน้นไปในการการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ เพื่อให้แบรนด์เป็นที่รู้จักในวงกว้าง แต่อีกวิธีการหนึ่งที่หลายคนมักมองข้ามไป คือการใช้พนักงานในองค์กรที่รู้จักและเข้าใจในองค์กรเป็นอย่างดี เป็นผู้ถ่ายทอดความเป็นสินค้าหรือบริการขององค์กร
วันนี้ WellExp จึงขอพาทุกท่านไปรู้จักกับคำว่า Employee Advocacy หรือการให้พนักงานในองค์กรนั้นเป็นกระบอกเสียงในการส่งเสริมธุรกิจสินค้าหรือบริการขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นการเป็นส่วนหนึ่งของแผนการตลาด ในการขยายข้อความและโปรโมชั่นผ่านปากต่อปากไปยังเพื่อนฝูงหรือสังคมออนไลน์ การแชร์ประสบการณ์และชีวิตการทำงานเชิงบวกที่สามารถส่งเสริมถาพลักษร์ขององค์กรได้ หรือเป็นการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสินค้าและบริการ จนสามารถแนะนำผู้อื่นหรือเป็นพรีเซนเตอร์ขององค์กรได้
ข้อดีของการทำ Employee Advocacy
-เพิ่มการรับรู้ถึงแบรนด์ จากผลของการศึกษาพบว่าตราสินค้าได้รับการเข้าถึงมากขึ้น 561% เมื่อพนักงานในองค์กรเป็นผู้แบ่งปันด้วยตนเอง เมื่อเปรียบเทียบกับช่องทางประชาสัมพันธ์อื่นๆ ขององค์กร
-เพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงานได้มากขึ้น จากผลการศึกษาเดียวกันพบว่าองค์กรที่สามารถสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานนั้น มีผลงานที่ดีกว่าองค์กรที่พนักงานไม่มีส่วนร่วมถึง 202 %
-สามารถควบคุมการสื่อสารออกไปได้ง่าย จากปัจจัยที่องค์กรสามารถวางแผนควบคุมปัจจัยภายในอย่างพนักกงานในบริษัท ทำให้การสื่อสารที่ออกไปมีความตรงประเด็นไม่บิดเบือนและรัดกุมมากขึ้น
-ดึงดูดพนักงานที่มีศักยภาพได้ง่ายขึ้น จากภาพลักษณ์ที่พนักงานเองได้สื่อออกไป ทำให้สามารถจูงใจให้ผู้สมัครงานเก่งๆ ให้อยากมาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรได้
จะส่งเสริม Employee Advocacy ในหมู่พนักงานอย่างไร?
1.การผลิตสินค้าของที่ระลึกสำหรับพนักงาน
วิธีการง่ายที่สุดที่บริษัทสามารถทำได้คือ การมีของที่ระลึกที่ระบุชื่อองค์กร แจกจ่ายไปยังพนักงานสามารถให้ได้ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เสื้อ แก้วน้ำ ร่ม เป็นต้น เพื่อให้พนักงานสามารถแบ่งปันหรือพูดถึงองค์กรกับผู้อื่นได้ ซึ่งถือเป็นวิธีการที่ดีในการให้พนักงานได้แสดงให้คนทั่วไปได้เห็นถึงวัฒนธรรมองค์กรที่ใส่ใจพนักงาน
2.การให้ความสำคัญกับพนักงาน
การที่พนักงานมีความสุขในชีวิตการรทำงาน ย่อมนำมาซึ่งการสนับสนุนองค์กรอย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับว่าภายในองค์กรมีการสร้างแรงจูงใจและสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานได้อย่างไร
ตัวอย่างวิธีการที่ง่ายที่สุดคือ คือการมีโครงการขอบคุณพนักงาน หรือการให้รางวัลพนักงานดีเด่นประจำเดือน การยกย่องพนักงานที่ประพฤติดีทำดีที่เป็นประโยชน์และสามารถเป็นแบบอย่างสำหรับองค์กร
3.การสนับสนุนกิจกรรมทางสื่ออนไลน์
ต้องยอมรับสื่อออนไลน์ เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการประชาสัมพันธ์ในยุคนี้ และการที่พนักงานใช้สื่อออนไลน์ในการกล่าวถึงบริษัท ย่อมแสดงให้เห็นภาพลักษณ์หรือคุณภาพขององค์กร รวมไปถึงสินค้าและบริการในเชิงลึก ซึ่งจะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือได้มากขึ้นกว่าการจ้างคนภายนอก องค์กรจึงควรสนับสนุนให้พนักงานผู้ใช้จริง เป็นผู้แนะนำสินค้าและบริการขององค์กรผ่านบัญชีส่วนตัวของพนักงาน ด้วยการให้รางวัลเพื่อเป็นแรงจูงใจให้พนักงานเข้ามามีส่วนร่วม
4.บอกเล่าความสำเร็จผ่านการทำงานของพนักวงาน
อีกวิธีการหนึ่งที่สามารถส่งเสริมพนักงานให้มาเป็นผู้ส่งเสริมองค์กร และทำให้พนักงานรู้สึกมีคุณค่าในการทำงานมากขึ้น คือการบอกเล่าเรื่องราวความสำเร็จของสินค้า บริการหรือความสำเร็จขององค์กร ผ่านผู้ขับเคลื่อนองค์กรอย่างพนักงานในแผนกต่างๆ ที่ต่างมีบทบาทหน้าที่ต่างกัน แต่ทุกคนต่างร่วมมือรวมใจเพื่อให้เป้าหมายขององค์กรสำเร็จร่วมกันได้
จะเห็นได้ว่า การสนับสนุนให้พนักงานมีส่วนร่วมในการส่งเสริมองค์กรนั้น ไม่เพียงได้ประโยชน์ทั้งในแง่ของการประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการ แต่ยังสามารถเพิ่มการมีส่วนรวมของพนักงาน สร้างความภักดีต่อองค์กรในหมู่พนักงานได้ แทนที่จะจ้างผู้ทรงอิทธิพลเพียงไม่กี่คน องค์กรสามารถให้การสนับสนุนและจูงใจพนักงานที่มีอยู่ให้เป็นตัวส่งเสริม ยิ่งหากองค์กรมีพนักงานเป็นจำนวนมาก ก็จะช่วยกระจายข้อมูลข่าวสารได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงคือ จะมีวิธีการใดที่จะสร้างแรงจูงใจให้พนักงานนั้น ต้องการเข้ามามีสวนร่วมในการส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับองค์กร
ข้อมูลอ้างอิง
https://sproutsocial.com/insights/what-is-employee-advocacy/
https://www.linkedin.com/business/marketing/blog/social-media-marketing/what-is-employee-advocacy-what-is-it-for-why-does-it-matter