
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ปัญหาการระบาดนั้นส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของพนักงานทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพร่างกาย ความตึงเครียดที่ส่งผลต่อสุขภาพจิต การต้องรักษาระห่างทางสังคมที่กระทบต่อความสัมพันธ์ รวมไปถึงความสวัสดิภาพทางการเงินที่อาจมีความติดขัดเพิ่มขึ้น
และด้วยปัญหาที่พนักงานแต่ละคนต้องประสบอยู่ในชีวิตประจำวันนั้น ย่อมส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังที่องค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าองค์กรในยุโรปส่วนใหญ่สูญเสียผลิตผลไปกว่า 140 พันล้านดอลลาร์ต่อปี จากปัญหาสุขภาพจิตทั่วไปของพนักงาน ดังนั้นการเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีจึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่ HR และองค์กรควรตระหนัก เพราะผลประโยชน์ที่จะได้รับนั้นส่งผลดีทั้งในแง่ของพนักงานและองค์กร
ประโยชน์สำหรับพนักงาน
-ทำให้มุ่งมั่นกับงานที่ทำมากขึ้น (Improved team focus)
-ลดความตึงเครียดในการทำงาน (Reduce of stress)
-เพิ่มความพึงพอในตัวงาน (Increased job satisfaction)
-เพิ่มพลังทางบวกในหมู่พนักงาน Positivity among employees
-ทำให้ความเป็นอยู่โดยรวมในการทำงานดีขึ้น (Improved general wellbeing)
ประโยชน์สำหรับองค์กร
-ระดับประสิทธิภาพของพนักงานสูงขึ้น (Higher performance levels)
-เพิ่มประสิทธิผลในการทำงาน (Improved productivity)
-ลดอัตราการลาออกของพนักงาน (Lower employee turnover)
-ดึงดูดผู้มีความสามารถ (Attract top talent )
-สร้างข้อได้เปรียบในการเป็นองค์กรที่น่าร่วมงาน (Organizational advantage)
โดยวิธีการหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาพัฒนาความเป็นอยู่ของพนักงานให้ดีขึ้นในสถานการณ์ช่วงนี้คือการให้การเรียนรู้ เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของพนักงานให้ดีขึ้น ผ่านการอบรมในหัวข้อต่างๆ ซึ่งมี 8 ขั้นตอนที่ HR และองค์กรควรพิจารณา เพื่อให้การอบรมนั้นมีประสิทธิภาพและเพิ่มความเป็นอยู่ที่ดีให้กับพนักงาน และเพื่อการพัฒนาองค์กรให้เข้มแข็งต่อไปได้
ขั้นตอนที่1 สำรวจปัญหาและความต้องการ (Identify problems)
อย่างแรกเลย HR และองค์กรต้องรู้และเข้าใจถึงปัญหาความเป็นอยู่ของพนักงานที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเสียก่อน ไม่ว่าจะเป็นจากการวิเคราะห์สถิติการขาดงาน การลา การมาสาย โดยอาจมีการสร้างแบบสำรวจขึ้นมาใหม่ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาแก้ไขปัญหาให้ตรงจุดมากขึ้น โดยการสร้างแบบสำรวจให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่คนทำงานที่บ้านเป็นส่วนใหญ่ ก็ไม่พ้นการสร้างแบบสอบถามทางออนไลน์ หรือสรรหาเทคโนโลยีในการสร้างแบบสำรวจที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ออกมาได้ ซึ่งจะช่วยให้งาน HR นั้นง่ายขึ้น
ขั้นตอนที่ 2 ตั้งวัตถุประสงค์ (Define the objectives)
แน่นอนว่าการสร้างการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีนั้น ก็เพื่อยกระดับความสุขของพนักงานให้มากขึ้น แต่ก่อนอื่น HR และองค์กรต้องเข้าใจระดับของความสุขที่เกิดขึ้นใน 3 ระดับดังนี้
ระดับที่ 1 ความปิติ(Pleasure) เป็นความสุขชั่วขณะหนึ่ง จากเหตุการณ์หนึ่งที่เกิด มีระยะเวลา ของความรู้สึกที่สั้นสุด
ระดับที่ 2 ความหลงใหล (Passion) เป็นความหลงใหลสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีระยะของความสุขยาวนานขึ้น ตราบใดที่ยังคงทำกิจกรรมนั้น
ระดับที่ 3 เจตจำนง (Purpose) เป็นระดับสูงสุดของความสุข ที่จะแทรกซึมเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตในประจำวัน
ดังนั้นหากต้องการยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในหมู่พนักงาน คือต้องทำให้วัฒนธรรมองค์กรนั้นอยู่ได้ด้วยความรู้สึกที่คนได้มีเจตจำนงร่วมกัน (sense of purpose) ดังนั้นการตั้งเป้าหมายไม่ควรระบุเพียงเพื่อพัฒนาด้านใดด้านหนึ่งของพนักงาน แต่ต้องรวมไปถึงการพัฒนานั้น จะสามารถส่งผลต่อเป้าหมายทั้งต่อตัวพนักงานเองและองค์กรได้อย่างไร
ขั้นตอนที่3 ขยายขอบเขตให้ครอบคลุม (Broaden the definition of well-being)
ความเป็นอยู่ที่ดีในปัจจุบันนั้นไม่ได้หมายถึง ความเป็นอยู่เฉพาะในที่ทำงานอีกต่อไป แต่เกี่ยวกับกับชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิต การอยู่รวมกันในสังคม รวมไปสภาพการเงินของพนักงานด้วย ดังนั้นหัวข้อในการอบรม ควรครอบคลุมทุกมิติของการดำเนินชีวิตประจำวันของพนักงาน
ขั้นตอนที่ 4 ให้การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (Enable Continuous Learning)
การเรียนเพียงในช่วงระยะเวลาสั้นๆ หรือในบทเรียนที่มีจำกัดนั้น อาจไม่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงาน ดังนั้นต้องมีการออกแบบการเรียนรู้ที่ให้การพัฒนา ทำให้ได้ฝึกทักษะในด้านด้างๆ อย่างต่อเนื่อง หรืออาจเป็นในรูปแบบยกระดับทักษะจากง่ายไปสู่ยาก รวมถึงต้องเป็นการเรียนรู้ให้เกิดการทำซ้ำย้ำให้ปฏิบัติ ก็จะช่วยกระตุ้นให้บทเรียนที่ได้รับนั้นสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนที่ 5 มีรูปแบบให้การอบรมที่ยืดหยุ่น (Provide training options)
ในโลกการทำงานนับจากนี้ การอมรมเชิงปฏิบัติการที่ให้ผู้เรียนรวมตัวในห้องประชุมเดียวกันอาจเป็นเรื่องที่ยาก การสรรหาเครื่องมือและเทคโนโลยีที่สามารถให้การเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ HR และองค์กรควรสรรหา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงบทเรียนได้ง่าย และเหมาะสมกับช่วงเวลาการทำงานและการพักของแต่ละคน
ขั้นตอนที่ 6 ตอบโจทย์ความต้องการส่วนบุคคล (Personalized Training)
เมื่อแต่ละคนนั้นมีความแตกต่าง มีปัญหาในการทำงานและการใช้ชิวตที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นการอบรมที่มีหัวข้อความหลากหลาย เหมาะกับระดับความสามารถและความต้องการส่วนบุคคล จึงเป็นสิ่งที่ควรพิจาณาในการสร้างสรรค์และสรรหาบทเรียนต่างๆ เพื่อให้ตอบความความต้องการของแต่ละบุคคลมากขึ้น
ขั้นตอนที่ 7 ทบทวนและปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา (Review and adjust)
ผลตอบรับจากการเข้าร่วมอบรมเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะเป็นตัวชีวิตถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ได้ ดังนั้นโปรแกรมหรือเทคโนโลยีเพื่อการอบรมต่างๆ ต้องสามารถให้การชี้วัดประสิทธิภาพที่ชัดเจน รวมถึงสามารถวัดความก้าวหน้าของบทเรียนแต่ละบทได้ เพื่อนำข้อมูลของการมีส่วนร่วมต่างๆ จากผู้เรียนมาประเมิน และแก้ไขปรับปรุงให้บทเรียนนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ขั้นตอนที่ 8 ให้รางวัลเป็นแรงจูงใจ (Flexible Benefit and Reward)
สิ่งที่กระตุ้นการกระทำได้ดีคือการเสริมแรงทางบวก ดังนั้นการให้รางวัลจึงเป็นแรงจูงใจชั้นดีของการสร้างการมีส่วนร่วมในการเรียน แต่ในขณะเดียวกันประเด็นเรื่องความแตกต่างและความต้องการของแต่ละคนเป็นปัจจัยที่ต้องคำนึง เพราะในองค์กรต่างประกอบไปด้วยคนต่างเจเนอเรชั่น การให้รางวัลซ้ำๆ หรือมีจำกัด อาจเป็นสิ่งที่ไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการ หรือไม่สามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ได้
สุดท้ายนี้ ที่ WellExp อยากฝากไว้คือ ความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานนั้นสำคัญพอๆ กับการสร้างแบรนด์หรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพราะภาพลักษณ์ขององค์กรสามารถสะท้อนออกมาได้จากความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน อีกทั้งยังเป็นตัวบ่งบอกถึงวัฒนธรรมขององค์กรนั้นๆ ซึ่งหากแตกต่างกับสิ่งที่แบรนด์หรือตัวสินค้าได้สื่อสารออกไป ก็อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจที่มีอยู่ได้
ข้อมูลอ้างอิง
https://trainingmag.com/training-is-crucial-for-improving-workplace-well-being/
https://www.bureauveritas.co.uk/newsroom/training-could-help-boost-employee-wellbeing
https://trainingindustry.com/articles/compliance/boost-employee-well-being-through-training/
https://employeebenefits.co.uk/why-employee-wellbeing-is-the-key-to-productivity/
https://www.oak.com/blog/employee-wellbeing/