top of page

6 ขั้นตอนช่วยสร้าง Employee Journey ให้ประทับใจ Talent ยุคนี้



“ทุกช่วงเวลา ทุกกิจกรรมของบริษัท คือสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการรักษาพนักงานในองค์กรไว้ได้นาน”


ข้อมูลจาก Gallup โชว์ว่ากว่า 48% ของพนักงานกำลังมองหางานใหม่ และเปิดกว้างมากหากจะมีบริษัทอื่น ๆ มาเสนองานให้ จากการสำรวจนี้ จึงเป็นสิ่งที่ชี้ชัดว่าองค์กรต้องทำการแข่งขันอย่างสูง ทั้งเพื่อจะรักษาคนเก่ง ๆ ไว้ และเพื่อที่จะดึงดูด Talent ใหม่ ๆ เช่นกัน และสิ่งที่บริษัทควรให้ความสนใจก็คือ “Employee Journey”


Employee Journey ก็เปรียบเสมือนเส้นทาง และการเดินทางของพนักงานที่เต็มไปด้วยประสบการณ์ และหากบริษัทสร้างประสบการณ์ที่ดีตลอดเส้นทางนี้ ต่อให้พนักงานเดินทางจนถึงปลายทางแล้ว แต่การเดินทางครั้งนี้ก็จะตราตรึงอยู่ในใจตลอดไป


ออกแบบเส้นทางให้ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง


Employee Journey เริ่มตั้งแต่การสรรหาพนักงานไปจนถึง Exit Interview ดังนั้นหากจุดเริ่มต้นน่าประทับใจ แน่นอนว่าผู้คนจะเริ่มสนใจในจุดต่อ ๆ ไปของเส้นทางอยู่แล้ว


จุดเริ่มต้นที่ดีเริ่มจากการดึงดูดให้เหล่า Talent

เหล่า Talent ที่มีความสามารถมักจะให้ความสนใจกับองค์กรที่มีจุดประสงค์การทำงานที่ชัดเจน และให้คุณค่ากับงานรวมถึงตัวพวกเขาเช่นกัน หากองค์กรสามารถแสดงให้คนภายนอกเห็นถึง Core Value ขององค์กรที่แข็งแกร่ง ก็จะยิ่งดึงดูดความสนใจได้มาก


การเลือกคนที่ใช่

ขั้นตอนการเลือกผู้ร่วมเดินทางไปกับองค์กร พบว่าถ้าขั้นตอนนี้ทำได้อย่างดี จะสามารถลดอัตราการลาออก ได้มากถึง10% โดยจุดนี้จะต้องสั้นกระชับ ชัดเจน รวมถึงแสดงให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ของบริษัทและวัฒนธรรมองค์กรอีกด้วย สำคัญที่สุด การคัดคนเข้าทำงานจะต้องไม่มีการลำเอียง เนื่องด้วยในประเด็นของ สีผิว ศาสนา ความเชื่อ และความแตกต่างอื่น ๆ ควรวัดกันที่ความสามารถและความเหมาะสมกับตำแหน่งเพียงเท่านั้น


Onboarding ต้องเหนือไปกว่านั้น

การ Onboarding ที่ดีจะต้องมีอะไรที่เหนือไปกว่าการทำความรู้จักคร่าว ๆ เกี่ยวกับตำแหน่งของงาน แต่จะต้องเป็นการทำให้พนักงานรู้สึกถูกต้อนรับ และเป็นส่วนหนึ่งของทีม


สร้างจุดแข็ง

พนักงานปัจจุบันนี้ ไม่ได้ทำงานเพื่อเงินเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่การทำงานจะต้องให้อะไรกับพวกเขา เพราะฉะนั้นในการทำงานหัวหน้าจะต้องให้เขารับผิดชอบงานอย่างสมเหตุสมผลเพื่อจะได้พัฒนาทักษะ และรู้ถึงจุดแข็งและความสามารถของตนเอง รวมถึงแสดงให้เขาเห็นอนาคตการทำงานของตัวเองเพื่อที่จะรู้เส้นทางการทำงานที่ชัดเจน


ฟีดแบ็กคือกำลังใจที่ดีระหว่างเดินทาง

ในการทำงาน การให้ฟีดแบ็ก เครดิต รวมถึงคำชมหลังทำงานสำเร็จคือสิ่งสำคัญ เพราะตัวพนักงานจะได้รู้สึกมีกำลังใจหากทำงานได้อย่างดี หรือหากมีข้อปรับปรุง ตัวเขาเองก็จะได้รู้ว่าควรแก้ไขตรงไหนเช่นกัน


การเดินทางจะต้องก้าวไปข้างหน้า ไม่ใช่ย่ำอยู่กับที่

เหตุผลอันดับหนึ่งของการลาออก ก็คือ การที่พนักงานไม่เห็นความก้าวหน้าในงานของตัวเอง ดังนั้น การที่ทำให้พนักงานรู้สึกไม่ย่ำอยู่กับที่จึงเป็นสิ่งที่องค์กรควรจะทำ เช่น การให้พนักงานมีโอกาสได้เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ทำงานร่วมกับทีมใหม่ ๆ มีการเลื่อนตำแหน่งให้ได้รับผิดชอบหน้าที่ที่สูงขึ้น ทั้งหมดที่กล่าวมาจะทำให้พวกเขารู้สึกก้าวหน้า และอยากเดินไปต่อกับองค์กร


ถึงปลายทาง จากกันด้วยความทรงจำดี ๆ

ปลายทางของ Employee Journey ก็คือการลาออก ถ้าหากตลอดเวลาที่พนักงานได้ทำงานในองค์กรมีแต่สิ่งดี ๆ และน่าประทับใจ ตอนต้องจากกันก็จะเต็มไปด้วยความรู้สึกดี ๆ และความทรงจำที่ดี ที่สำคัญพนักงานจะรู้สึกภูมิใจที่เคยได้ทำงานที่นี่ พร้อมบอกต่อกับคนอื่น ๆ ถึงความทรงจำดี ๆ ต่อไป


สุดท้ายนี้ Employee Journey ก็เหมือนการเดินทางครั้งหนึ่งของพนักงาน หากองค์กรออกแบบให้เส้นทางระหว่างเดินทางดี น่าประทับใจ พนักงานก็จะรู้สึกภูมิใจทุกครั้งที่นึกถึง และยังแสดงให้เห็นด้วยว่าองค์กรใส่ใจและให้ความสำคัญกับพนักงานมากแค่ไหน Employee Journey ที่น่าประทับใจ จะช่วยจุดประกาย Talent เก่ง ๆ ให้อยากร่วมเดินทางไปพร้อมองค์กรได้อย่างแน่นอน


ข้อมูลจาก : https://www.gallup.com/workplace/389408/employee-journey-hands-guide.aspx


bottom of page