top of page

5 How to ขจัดความกลัว สร้างความปลอดภัยทางใจในที่ทำงาน



รู้หรือไม่ ผลโพลจาก Gallup พบว่า 3 ใน 10 ของพนักงาน ถูกเพิกเฉยและไม่ให้ความสำคัญกับความคิดเห็นในที่ทำงาน


แล้วจะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากคนในทีมกลัวที่พูด กลัวที่จะเสนอความคิดเห็น และกลัวที่จะตั้งคำถาม เพราะพวกเขากลัวจะถูกไม่ยอมรับ?


Psychological Safety หรือความรู้สึกปลอดภัยทางใจ หรือบางครั้งถูกเรียกว่า ความรู้สึกปลอดภัยในที่ทำงาน คือความรู้สึกและความเชื่อว่าตนจะไม่ถูกต่อว่าหรือลงโทษถ้าแสดงความคิดเห็น ตั้งคำถาม หรือทำผิดพลาดไป ความปลอดภัยในที่ทำงานนี้จะทำให้เรารู้สึกว่า ถ้าเราแสดงความคิดเห็นสิ่งใดไปจะไม่ถูกเพิกเฉย และปฏิเสธไอเดีย โดยหากพนักงานรู้สึกปลอดภัย จะทำให้รู้สบายใจที่จะทำงานในองค์กร


ใครว่า ความรู้สึกปลอดภัยทางใจ (Psychological Safety) ไม่สำคัญ เมื่อพนักงานไม่ได้รับการยอมรับ ก็ไม่กล้าที่จะนำเสนอและลองทำอะไรใหม่ ๆ ร้ายแรงที่สุดคือความสามารถและทักษะที่มีในตัวพนักงานจะไม่ถูกนำมาใช้อย่างเต็มที่ เพราะความกลัว ความรู้สึกไม่ปลอดภัย


โดย ความรู้สึกปลอดภัยทางใจ (Psychological Safety) จะมีทั้งหมด 4 สเตจ

- รู้สึกปลอดภัยที่จะเป็นตัวเอง และถูกยอมรับ

- รู้สึกปลอดภัยที่จะเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นถามเรื่องที่ตนไม่รู้ เรียนรู้ในความผิดพลาด

- รู้สึกปลอดภัยที่จะแสดงความสามารถ

- รู้สึกปลอดภัยที่จะทำเรื่องที่ท้าทาย อย่างไอเดียใหม่ สิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่เคยทำมาและมองเห็นถึงโอกาส


สิ่งสำคัญที่จะทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกปลอดภัยทั้ง 4 สเตจนี้ หัวหน้าและผู้ที่เกี่ยวข้องควรที่จะสร้าง Psychological Safety ให้เกิดขึ้นในองค์กร

5 How to ขจัดความกลัว เพื่อสร้างความปลอดภัยทางใจให้เกิดในที่ทำงาน


1) ให้ความสำคัญในการสร้าง Psychological Safety

องค์กรควรจะต้องให้ความสำคัญและพูดคุยเรื่องนี้อย่างจริงจัง รวมถึงนำมาปรับใช้ พร้อมทั้งตั้งเป้าหมายของการสร้าง Psychological Safety อย่างชัดเจน เช่น เพื่อการมีส่วนร่วมในทีม


2) เชียร์อัพเมื่อมีคนแสดงความคิดเห็น

เมื่อใครสักคนกล้าที่จะพูดและแสดงความคิดเห็น สิ่งที่ทุกคนควรทำคือเปิดใจ รับฟังอย่างตั้งใจด้วยความเห็นใจและเข้าใจ พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนอย่างเต็มที่


3) คนเราสามารถเรียนรู้จากความผิดพลาดได้

ขึ้นชื่อว่ามนุษย์ย่อมต้องมีความผิดพลาดอย่างแน่นอน การสร้างความรู้สึกปลอดภัยในที่ทำงานคือการไม่ต่อว่าเมื่อคนในทีมทำพลาด แต่ควรเรียนรู้จากความผิดพลาด พร้อมทั้งทำให้เขารู้สึกว่าความผิดพลาดเป็นเรื่องที่ยอมรับและแก้ไขได้


4) ให้พื้นที่กับแนวคิดใหม่ ๆ

ไอเดียใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน มาพร้อมกับความท้าทายและความเสี่ยง เพราะฉะนั้นแล้วการเปิดพื้นที่สำหรับการคิดนอกกรอบและไอเดียที่ยังไม่มีใครทำมาก่อน พร้อมทั้งมีการสนับสนุนก็จะยิ่งทำให้คนในทีมกล้าพูด กล้าคิด กล้านำเสนอ ซึ่งจะนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด


5) ทีมต้องแชร์กัน!

ควรมีการเปิดพื้นที่เพื่อให้คนในทีมถกเถียงและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างมีประสิทธิภาพ! ในหัวข้อที่สำคัญ ๆ ที่จะช่วยให้เกิด Psychological Safety ยกตัวอย่างเช่น

- ทีมมีวิธีการสื่อสารกันอย่างไร หากพบปัญหาในการทำงาน

- หากไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นจะสามารถแชร์กับเพื่อนร่วมงานได้อย่างไร

- เรามีวิธีการจัดการกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอย่างไร

การที่ทีมคุยกันถึงคำถามที่ได้กล่าวมาข้างต้น จะทำให้ทีมรู้ถึงวิธีในการสื่อสารและจะทำให้ผู้พูดรู้สึกปลอดภัยเพราะรู้สึกว่าแม้จะเป็นเรื่องความขัดแย้งหรือปัญหาก็สามารถพูดกันได้อย่างปกติ


ความปลอดภัยในที่ทำงานย่อมส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์กรอย่างแน่นอน ยิ่งองค์กรทำให้พนักงานรู้สึกปลอดภัยและสะดวกใจที่จะพูดหรือแชร์เรื่องต่าง ๆ จะทำให้การทำงานและความเป็นทีมเวิร์คมีความแข็งแกร่ง สิ่งแวดล้อมการทำงานเต็มไปด้วยความสุข และรักษาพนักงานได้นานมากยิ่งขึ้นอีกด้วย


สุดท้ายนี้ Psychological Safety ไม่ใช่การที่คนในองค์กรจะต้องปฏิบัติกันด้วยความไนซ์ตลอดเวลา แต่เป็นการที่เรายอมรับความขัดแย้ง กล้าที่จะพูดมันออกไป และรับรู้ได้ว่าเราจะไม่โดดเดี่ยวเพราะเราจะมีทีมที่ซัพพอร์ตเราอยู่เสมอ ๆ เช่นเดียวกันกับที่เราจะซัพพอร์ตทีมของเราเช่นกัน

bottom of page