top of page

5 สเต็ปง่าย ๆ ในการสร้าง Employee Experience Journey Map


การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับพนักงาน สามารถสร้างผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ต่อความสำเร็จขององค์กรได้มากกว่าที่คิด พนักงานที่มีมุมมองบวกต่อองค์กร จะให้ความร่วมมือ และมีความproductive นอกจากนั้นยังทำให้พวกเขาผูกพันธ์ต่อองค์กรอีกด้วย


คนส่วนใหญ่จะจำโมเม้นทของ์ความตื่นเต้นในวันแรกที่เริ่มงาน

ความรู้สึกที่ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ได้อย่างแม่นยำ แต่ช่วงเวลาหลังจากนั้น การทำงานไปได้สักพัก กลับเป็นอะไรที่ไม่น่าตื่นเต้น ไม่มีอะไรพิเศษ และถ้าให้เล่าช่วงที่ประทับใจก็คงจะใช้เวลานึกกันสักพัก ทุกอย่างดูเลือนลางและธรรมดาจนไม่มีอะไรน่าจดจำ และความทรงจำจะเด่นชัดอีกทีก็ตอนที่เราได้ตัดสินใจ ยื่นใบลาออก ยิ่งองค์กรไม่สร้างประสบการณ์ที่ดี ไม่มีสิ่งใดให้ประทับใจ ก็จะยิ่งไม่สามารถรักษาพนักงานที่ดีไว้กับองค์กรได้เลย เป็นเรื่องน่าเศร้าที่เรามีคนเก่งอยู่ในมือ แต่ไม่สามารถรักษาไว้ได้


ประสบการณ์ที่ดี สร้างได้ไม่ยาก หากเรามีการวางแผน Employee Journey ที่ดี

Employee Journey คือการสร้างความประทับใจให้พนักงานตั้งแต่กระบวนการสมัครงานจนถึงวันสุดท้ายของการทำงาน เรียกได้ว่าถึงแม้จะจากกัน แต่ก็จากกันด้วยความรู้สึกดี ๆ รอยยิ้ม และความทรงจำที่น่าประทับใจ แต่การจะสร้าง Employee Journey ที่ได้ประสิทธิภาพ องคกรจะต้องผ่านการคิดอย่างถี่ถ้วนและใส่ใจ เพื่อให้ทุกกระบวนการสามารถสร้างความรู้สึกดี ๆ ให้เกิดขึ้นในใจของพนักงานได้ และเพื่อให้ employee journey ได้ผล จะต้องมีการสร้าง map ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติจริง


5 สเต็ปง่าย ๆ ในการสร้าง Employee Experience Journey Map

สิ่งสำคัญที่สุดในการจะวางแผน องค์กรจะต้องทราบก่อนว่าต้องการที่จะพัฒนาและปรับปรุงจุดไหนให้ดีขึ้น ยกตัวอย่าง ถ้าปัญหาขององค์กรคือการที่พนักงานมีอัตราการลาออกอย่างสูงในช่วงปีแรก สิ่งที่ควรจะพัฒนาก็คือ ช่วงระยะแรกของการทำงานของพนักงานว่ามีจุดบกพร่องตรงไหน

และนี่คือ 5 สเต็ปสำคัญที่องค์กรจะต้องทำ เพื่อสร้าง Employee Experience Journey Map


เริ่มสำรวจปัญหา

สเต็ปแรกเลยคือการสำรวจและวิเคราะห์ปัญหาจากข้อมูลที่บริษัทมี ไม่ว่าจะเป็นอัตราการลาออก การดำรงตำแหน่งของพนักงาน และข้อมูลจากexit interview หลังจากนั้นก็เริ่มพูดคุยกับพนักงานในเรื่องของปัญหาที่เจอ ความต้องการ เป้าหมายในการทำงานและมุมมองต่อองค์กร


เข้าถึงพนักงานแต่ละคนให้ได้มากขึ้น

พนักงานแต่ละคน แต่ละตำแหน่งย่อมมีประสบการณ์และความคาดหวังที่ต่างกันอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการจะดูแลพนักงานให้ได้ดี ไม่อาจสามารถใช้วิธีเดียวและปรับใช้กับทุกคนได้ บางวิธีอาจจะเวิร์กกับคนหนึ่ง แต่ไม่เหมาะสมกับอีกคน ดังนั้นเพื่อดูแลพนักงานให้ดีได้อย่างทั่วถึง ควรจะเข้าใจแต่ละคนเพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดมาปรับใช้


กำหนดขั้นตอนต่าง ๆ และระบุผลลัพธ์ที่ต้องการ

ในการสร้างประสบการณ์ที่ดี องค์กรจะต้องกำหนดขึ้นมาว่าต้องการให้มีกระบวนการใดบ้างและมีเป้าหมายว่าต้องการให้พนักงานได้อะไรจากกระบวนการนั้น ๆ เริ่มตั้งแต่ การรับสมัครคน การปฐมนิเทศ การสร้างการพัฒนาและการเรียนรู้ การเลื่อนตำแหน่งให้พนักงาน การให้ฟีดแบ็กต่อ performace การให้รางวัลตอบแทนเมื่อทำงานสำเร็จ สวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะได้รับ รวมถึงขั้นตอนสุดท้ายซึ่งก็คือ exit interview พร้อมทั้งวางแผนออกแบบว่าในแต่ละขั้นตอน สิ่งที่พนักงานควรจะได้รับคืออะไร

ตัวอย่างเช่น ขั้นตอนการเรียนรู้และสร้างการพัฒนา พนักงานจะได้รับการเรียนรู้แบบ bite-size learning ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบเป็นตอนสั้น ๆ ไม่ใช่การนั่งเรียนยาว ๆ หลายชั่วโมง ซึ่งจะทำให้พนักงานเรียนรู้ได้อย่างสนุกขึ้น พร้อมทั้งมีแบบทดสอบสั้น ๆ หลังเรียนรู้ และเมื่อเสร็จกระบวนการ พนักงานก็จะได้รางวัลตอบแทน

การออกแบบและกำหนดผลลัพธ์เช่นนี้จะทำให้แต่ละกระบวนการได้ประสิทธิภาพมากขึ้น และที่สำคัญพนักงานก็ยังได้รับประสบการณ์ที่ดีอีกเช่นกัน WellExp แพลทฟอร์มที่ช่วยสร้างการเรียนรู้และพัฒนาพนักงานให้สนุกสนานกว่าที่เคย พร้อมทั้งได้รางวัลตอบแทนเป็นพ้อยท์ไปแลกสวัสดิการตามไลฟ์สไตล์ เพื่อสร้างแรงจูงใจ และประสบการณ์ที่ดีให้กับพนักงาน แบบที่ไม่สามารถหาได้จากที่ไหน สนใจนำ WellExp ไปใช้ในองค์กรเพื่อสร้างความประทับใจให้พนักงาน คลิก


สร้าง storyboard ให้ชัดเจน

หลังจากได้ระบุปัญหา ได้ข้อมูลจากพนักงาน และกำหนดขั้นตอนต่าง ๆ แล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการสร้าง storyboard ของ employee journey ว่าแต่ละสเต็ปจะมีการเป็นไปอย่างไร ต้องมีจุดที่ทำให้พนักงานรู้สึกประทับใจในทุกขั้นตอน พร้อมทั้งระบุปัญหาที่คิดว่าจะเกิดขึ้นและหาทางแก้ไขเตรียมไว้


เทคแอคชั่นอย่างจริงจัง

องค์กรควรจะทำให้ employee journey เป็นไปอย่างราบรื่น ด้วยการคอยดูแลว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้นและเทคแอคชั่นอย่างทันที เช่น การปฐมนิเทศมีขั้นตอนมากไปหรือเปล่า การให้ฟีดแบ็กของการทำงานให้มีความบ่อยมากน้อยแค่ไหน และหาทางแก้ไข เช่น การลดขั้นตอนปฐมนิเทศ การให้ความรู้พนักงานเรื่องการให้ฟีดแบ็กกันอย่างมีประสิทธิภาพ


การวางแผน employee journey อย่างจริงจัง และใส่ใจจะช่วยให้การสร้างประสบการณ์ต่อพนักงานออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ และประทับใจพนักงานในทุก ๆ กระบวนการ สามารถเล่าได้อย่างเห็นภาพชัด เพราะเป็นเรื่องที่ดี ๆ ที่อยู่ในความทรงจำ ยิ่งไปกว่านั้นจะยิ่งทำให้องค์กรมีวัฒนธรรมการทำงานและสภาพแวดล้อมไปในเชิงบวก พนักงานอยากตื่นมาทำงาน ให้ความร่วมมือทุกกิจกรรม และผลลัพธ์ที่ดีที่สุดก็คือผลงานและการให้บริการกับลูกค้าด้วยความยินดี


เพราะพนักงานคือส่วนสำคัญที่สุด ในการขับเคลื่อนองค์กรให้ถึงจุดหมาย


ที่มา : https://www.netsuite.com/portal/resource/articles/human-resources/employee-experience-journey-mapping.shtml

bottom of page