
ถึงโควิดดูจะมีทีท่าว่าอาจจะสิ้นสุดลงในไม่นาน แต่แน่นอนว่าผลกระทบของโรคระบาดย่อมส่งผลให้วิถีชีวิตเราเปลี่ยนไปตลอดกาล โดยเฉพาะโลกของการทำงาน อำนาจในการตัดสินใจต่อรองต่าง ๆ จะอยู่ในมือของพนักงานมากขึ้น เพราะผู้คนจะเริ่มตระหนักถึง work-life balance และการให้ค่าตอบแทนสูงจะไม่ได้ดึงดูดใจพนักงานยุคนี้อีกต่อไปหากมีสภาพการทำงานที่เคร่งเครียดและเบียดเบียนเวลาส่วนตัว
นอกจากนี้การทำงานแบบ hybrid ก็คือว่าได้กลายเป็นเรื่องปกติของทุกองค์กรไปแล้ว แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือ พนักงานขาดการมีส่วนร่วมและความเป็นส่วนหนึ่งก็อาจจะไม่ได้มีมากเท่าสมัยการทำงานที่ออฟฟิศ ดังนั้นโจทย์ที่ HR ต้องแก้ไขให้ได้ก็คือ การทำอย่างไร ให้พนักงานรู้สึกดีต่อองค์กร แม้จะต้องเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน
Employee engagement เป็นเรื่องสำคัญที่ HR และองค์กรควรให้ความสำคัญมากที่สุดในปี 2023 โดยถอดบทเรียนจากระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา และการสร้าง Employee engagement ก็เป็นวิธีการรักษาพนักงานให้อยู่ในองค์กรได้นานและยั่งยืนมากกว่าวิธีไหน ๆ อย่างแน่นอน
เพื่อสร้าง Employee engagement ที่ยั่งยืน HR และองค์กรจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้คอนเซ็ปต์เหล่านี้เสียก่อน
The Great Resignation - ปัจจัยที่สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
The Great Retention - วิธีการที่ใช้ระยะเวลาสั้น ๆ แต่ส่งผลยาวนาน
The Great Redundancy - การจัดการกับค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น และความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ
The Great Re-evaluation - ทำความเข้าใจว่าสิ่งที่สำคัญต่อพนักงาน ณ ปัจจุบัน คืออะไร
The Great Relationship - ความสำคัญอันดับแรก ๆ ในการสร้าง Employee engagement
The Great Resignation
ข้อแรกว่าด้วยจุดเริ่มต้น การลาออกครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์โรคระบาดหรือ The Great Resignation เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่เป็นจุดเริ่มต้นของการที่องค์กรต้องเริ่มสนใจกับ Employee engagement
หลังจากที่เกิดวิกฤติโรคระบาด คนล้มตายและเจ็บป่วยกันทั่วโลกทำให้คนส่วนใหญ่เริ่มพิจารณาว่าชีวิตควรให้ความสำคัญกับครอบครัวและสิ่งที่รักมากกว่าการทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ให้กับงาน รวมถึงการทำงานแบบ remote มีมากขึ้น ก็เลยทำให้การมีส่วนร่วมและความเป็นหนึ่งเดียวกันของพนักงานในองค์กรน้อยลง การดึงดูดและรักษาพนักงานไว้กลายเป็นเป็นเรื่องยากมากกว่าที่เคย หากองค์กรไม่ต้องการให้วิกฤติ The Great Resignation เกิดขึ้นกับตนเอง ก็ควรที่จะต้องเริ่มลงทุนและให้ความสนใจกับ Employee engagement โดยเร็ว
The Great Retention
คอนเซ็ปต์นี้ว่าด้วยการรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรได้นานยิ่งขึ้น เพิ่มความรู้สึกรักและการมีส่วนร่วมต่อองค์กรให้กับพนักงาน
Flexible working
พนักงานต้องการความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเวลาเข้าทำงาน ชั่วโมงการทำงาน และสถานที่ทำงาน มนุษย์พ่อมนุษย์แม่ต้องการเวลาที่จะไปส่งลูกเข้าเรียนและทานข้าวเช้ากับลูก พนักงานบางคนต้องการเวลาช่วงเย็นเพื่อที่จะไปยิม ฉะนั้นการให้ความยืดหยุ่นในการทำงานจะทำให้พนักงานทุ่มเททั้งกับงานและกับตัวเองได้อย่างเต็มที่
Well-being
หากพนักงานมีความสุข การทำงานย่อมออกมาดีตาม หลังจากโควิดทุกคนเกิดความเครียดและเริ่มหันมาสนใจกับสุขภาพของตนมากขึ้น ดังนั้นการมีบริการดูแลสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และที่สำคัญการลดความกดดันในการทำงาน และมีความเห็นอกเห็นใจในการทำงานมากขึ้น จะช่วยให้พนักงานมี well-being อย่างแน่นอน
การพัฒนาตนและการเรียนรู้
พนักงานย่อมไม่อยากทำงานไปวัน ๆ โดยไม่เห็นอนาคต ทางแก้ไขจึงเป็นการแสดงให้พนักงานเห็นถึงเส้นทางการทำงานของตนเอง ให้คุณค่าพนักงาน โดยมอบโอกาสในการแสดงความคิดเห็น และแสดงความสามารถอย่างเต็มที่
การให้รางวัลตอบแทน
คนที่ตั้งใจและทุ่มเทให้งานทุกคน หวังว่าจะได้รับรางวัลตอบแทนกันทั้งนั้น หากพนักงานทำดีแต่ได้รับการเพิกเฉยก็หมดไฟในการทำดีได้ในสักวัน เพราะฉะนั้นการให้รางวัลตอบแทนในการทำงานดี เป็นเรื่องจำเป็นที่องค์กรจะต้องตระหนักถึง
ในปัจจุบันนี้ก็มีเทคโนโลยีมากมายที่ช่วยซัพพอร์ตพนักงานในเรื่องของรางวัลตอบแทน อย่าง WellExp แพลตฟอร์มที่ช่วยสร้าง Employee engagement และ Employee recognition ในรูปแบบของพ้อยต์หลังจากพนักงานทำมิชชั่นสำเร็จ โดยพ้อยต์จะสามารถนำไปแลกสวัสดิการที่พนักงานต้องการได้อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็น สวัสดิการค่าน้ำมัน สวัสดิการส่วนลดค่าอาหารอย่าง Grab food สวัสดิการเพื่อคนชอบช้อปปิ้งอย่าง Central, Shopee, Lotus’s และอีกมากมาย เมื่อพนักงานทำผลงานดีและได้รางวัลตอบแทนแบบเลือกเองได้ ย่อมส่งผลให้พนักงานให้ความร่วมมือและผูกพันต่อองค์กร สนใจแพลตฟอร์ม คลิก
The Great Redundancy
คอนเซ็ปต์นี้สำคัญและควรขีดไฮไลต์ไว้ เพราะว่าด้วยเรื่องความเสี่ยงและการรับมือกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจที่แย่ลง ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น พนักงานต้องการเงินเดือนที่มากขึ้นเพื่อไปซัพพอร์ตการดำรงชีวิตประจำวัน แต่ในขณะเดียวกันบริษัทก็มีค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น จนอาจจะต้องลดค่าใช้จ่ายในบางส่วนลง ทำให้การจ้างงานมีความซับซ้อนมากยิ่งกว่าเดิม
เพราะองค์กรต้องการคนที่ “ใช่” มาทำงานในตำแหน่งที่ “ใช่” และต้องมีทักษะที่ตอบโจทย์กับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของโลก พร้อมทั้งมี multitask skill ในขณะที่พนักงานก็ต้องการเงินเดือนที่มากขึ้น เพื่อให้คุ้มกับภาระงานที่มากขึ้นเช่นกัน จึงเป็นเรื่องของ HR ที่ต้องคัดคนที่เหมาะสม และพิจารณาเรื่องการ upskills แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งหน้าที่การทำงานและการ upskills จำเป็นต้องบาลานซ์ไปกับความต้องการของพนักงาน เพราะมิฉะนั้นองค์กรก็อาจจะต้องสรรหาพนักงานใหม่อยู่บ่อย ๆ เพราะพนักงานตัดสินใจไม่ไปต่อกับองค์กรนั่นเอง
The Great Re-evaluation
ว่าด้วยเรื่องของการทำความเข้าใจว่าพนักงานต้องการอะไร เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ Employee engagement ได้ประสิทธิภาพ
หากองค์กรนำวิธีที่เขาทำตาม ๆ กันมา หรือไปลอกเขามา ก็อาจจะเกิดเหตุการณ์ที่ว่า “ทำไมพนักงานไม่ให้ความร่วมมือเลยล่ะ” “ ทำไมไม่สามารถยื้อพนักงานไว้ได้เลย” การสร้างความร่วมมือในหมู่พนักงานที่ดีที่สุดคือการรับฟัง และเข้าใจความต้องการของพนักงานอย่างแท้จริง และต้องจำให้ขึ้นใจว่าแนวทางแก้ปัญหาแบบเดียวกันไม่สามารถใช้ได้กับทุกคน เพราะแต่ละคนมีความต้องการต่างกัน บางคนต้องการทำงานแบบ remote เพราะต้องการใช้เวลากับครอบครัว บางคนให้ความสำคัญกับความก้าวหน้าทางอาชีพและเงินเดือน บางคนต้องการที่จะเรียนรู้และอัปสกิลใหม่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นแล้ว HR หรือหัวหน้างานจะต้องวางแผนด้วยความรอบคอบและปฏิบัติใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละคน
The Great Relationship
เดินทางกันมาถึงคอนเซ็ปต์สุดท้ายกันแล้วสำหรับบทเรียนในเรื่อง Employee Engagement ฉบับปี 2023 บทส่งท้ายว่าด้วยเรื่องของบุคคลที่จะมีบทบาทสำคัญในการสร้าง Employee Engagement นอกจาก HR แล้ว หัวหน้าคือบุคคลสำคัญที่จะดึงดูดให้พนักงานมีส่วนร่วมและอยู่กับองค์กรไปได้นาน
หากมีหัวหน้าที่สามารถสร้างความสัมพันธ์ในทีม เข้าอกเข้าใจ ผลักดัน พร้อมทั้งเห็นถึงคุณค่าในสิ่งที่พนักงานได้ทำในทุก ๆ วัน ทีมจะแข็งแกร่ง และให้ความร่วมมือกันอย่างเต็มที่ในทุก ๆ เรื่องแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นโปรเจกต์ใหญ่ กิจกรรมปาร์ตี้บริษัท หรือแม้กระทั่งการประชุมในทุกครั้ง จึงกล่าวได้เลยว่า หัวหน้าที่มีความสามารถในการสร้างทีม ถือเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการสร้าง Employee Engagement เลยทีเดียว
ถึงเวลาแล้วที่องค์กรจะต้องปรับตัว พร้อมทั้งสร้างสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ทำให้คนอยากตื่นมาทำงานในทุก ๆ วัน ที่ทำงานต้องเป็นมากกว่าห้องสี่เหลี่ยม ๆ ให้พนักงานมานั่งอดทนทำงานและรอหมดวัน แต่ต้องเป็นเสมือนคอมมูนิตี้หนึ่ง ๆ ที่ให้คนมาแชร์ทั้งเรื่องงานและเรื่องเล่น เมื่อพนักงานมี engagement ต่อทีม การลาออกจะน้อยลง ผลลัพธ์ในการทำงานจะดีขึ้น และที่สำคัญวัฒนธรรมองค์จะเป็นไปในเชิงบวกอย่างแน่นอน
Soource : shorturl.at/eQRW0