top of page

3 ข้อดีของการบริหารคนและองค์กรให้ Success ด้วยไอเดีย “Skills-based”


โลกการทำงานที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่เกิดการทำงานแบบ remote work เพิ่มขึ้นเพราะวิกฤติโรคระบาดที่ผ่านมา จากคนที่โลว์เทค หรือตามไม่ทันเทคโนโลยี ก็ต้องปรับตัวเองให้ใช้เทคโนโลยีให้เชี่ยวชาญ เพราะการทำงานส่วนใหญ่ในยุคนี้ขับเคลื่อนไปด้วยเทคโนโลยี ทำให้หลาย ๆ คนตอนนี้ต่างก็ต้องรีบเร่งทั้ง reskill และ upskill เพื่อเอาตัวรอด ให้ตัวเองมีสกิลที่ไล่ตามทันในยุค technology disruption อย่างตอนนี้

ทำความรู้จักกับไอเดีย Skills-based

Skills-based คือ การบริหารจัดการคนโดยคำนึงจากทักษะเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการมอบหมายหน้าที่ การเลื่อนตำแหน่ง และการขึ้นเงินเดือน

โดย Skills-based จะมอบหมายให้คนที่มีทักษะที่สอดคล้องกับตำแหน่งนั้น ๆ เป็นคนรับผิดชอบ ที่สำคัญไอเดียนี้ไม่พิจารณาการเลื่อนขั้นและขึ้นเงินเดือนด้วยอายุงาน แต่!! จะพิจารณาตามทักษะที่คุณมี นั่นแสดงว่ายิ่งมีความสามารถ และสกิลมากเท่าไร ยิ่งมีความก้าวหน้าในอาชีพมากเท่านั้น

แนวคิดแบบ Skills-based ยังทำให้องค์กรสามารถแมททักษะที่มีในตัวของพนักงานกับตำแหน่งและความรับผิดชอบได้อย่างเพอร์เฟค และยังสร้างทีมที่แข็งแกร่งสุด ๆ ได้อีก หากเราสามารถเลือกคนที่มีความสามารถต่างกัน มีจุดแข็งที่สามารถซัพพอร์ตกันและกันได้

วันนี้ WellExp เลยจะพามาดูข้อดีของการเลือกคนทำงานแบบ Skills-based แทนที่ role-based แบบเดิม ๆ กัน

สร้างการพัฒนาและการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพได้มากกว่าเดิม


อย่างที่กล่าวไปว่าในยุคนี้การพัฒนาและการ upskills เป็นเรื่องที่ทุกคนให้ความสนใจ ในหลาย ๆ องค์กรจึงมีการจัดเทรนนิ่ง การลงคอร์สให้พนักงานไป upskill ให้เท่าทันความต้องการของตลาดแรงงาน

เป็นเรื่องง่าย หากเราจะตั้งงบประมาณ ให้พนักงานไปลงคอร์สพัฒนาทักษะอะไรสักอย่าง แต่จะเป็นเรื่องยากหากเราต้องการผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพกลับมาจากการลงทุนพัฒนาพนักงาน เพราะการจะจัดเทรนนิ่งเราต้องคำนึงถึงเนื้อหา ความจำเป็น และผลลัพธ์ว่าจะสามารถช่วยให้ธุรกิจเราประสบความสำเร็จได้ไหม

Skills-based สามารถจัดการปัญหานี้ได้ เพราะทำให้องค์กรเห็นชัดมากขึ้นว่าทักษะใดที่จำเป็นและกำลังเป็นที่ต้องการ อันจะเพิ่มประสิทธิภาพของผลงาน และช่วยเติมเต็มทักษะที่องค์กรกำลังต้องการได้

ทำให้การบริหารจัดการพนักงานดีกว่าเดิม

แต่เดิมเราเลือกใครมารับตำแหน่งงาน จากการที่เขา “เคยทำ” งานนั้นมาหรือไม่? แต่จากนี้เราจะเลือกจากเขามี “ทักษะ” ที่จะทำตำแหน่งนี้หรือไม่?

ฉะนั้นยิ่งเราเลือกคนที่ถูก ให้รับผิดชอบหน้าที่ที่เหมาะสม และสอดรับกับทักษะที่มีแล้ว จะยิ่งเป็นการดึงศักยภาพของพนักงานออกมาได้อย่างสูงสุด ที่สำคัญพนักงานจะรู้สึก “เต็มที่” ที่ได้แสดงความสามารถ และจะตามมาซึ่งความรู้สึกเห็นคุณค่าในตัวเอง และรู้สึกมั่นใจ เชื่อใจในองค์กร ซึ่งจะพ่วงผลดีอย่างการรักษาพนักงานให้อยู่ในองค์กรได้นานขึ้นตามมาอีกด้วย


ค้นพบ Candidates ที่แมทกับตำแหน่งสุด ๆ


จะกล่าวให้เห็นภาพอย่างชัดเจนว่า Skills-based จะสามารถหาคนให้แมทกับตำแหน่งสุด ๆ ได้อย่างไร โดยจะยกตัวอย่างของ การหา Project Manager โดย Skills-based จะไม่ใช่การไปหาใครสักคนที่ดูว่าจะเหมาะสมแต่จะเป็นการลิสต์คุณสมบัติและทักษะ ที่องค์กรต้องการพร้อมทั้งยังต้องจำเป็นต่อการรับผิดชอบหน้าที่ และหาคนที่มีทักษะตอบโจทย์มารับตำแหน่ง อย่างเช่น คุณสมบัติเรื่องการจัดสรรงบประมาณ คุณสมบัติในการเป็นผู้นำที่ดี การจัดการเวลาได้อย่างเหมาะสม ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะทำให้องค์กรสามารถหาคนที่แมทกับตำแหน่งได้มากกว่าเดิม

สุดท้ายนี้ถึงแม้การบริหารคนแบบ Skills-based จะมาแรง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า Role-based จะไม่หายไปไหนอย่างแน่นอน เป็นเรื่องสำคัญที่คนในองค์กรจะต้องมาคิดและประยุกต์ใช้ไอเดียทั้งสองให้เหมาะสมกับพนักงานในแต่ละคน เพื่อการพัฒนาอย่างสูงสุดของทั้งพนักงานและองค์กรเอง สำคัญที่สุด องค์กรต้องไม่ลืม ถามฟีดแบคจากพนักงาน ว่าพอใจ หรือมีข้อเสนอแนะอะไรไหม เพราะมิฉะนั้นต่อให้ไอเดียที่มาใช้จะใหม่มาแรงแค่ไหน แต่ถ้าไม่สามารถบริหารให้พนักงานรู้สึกเกิดคุณค่า สบายใจที่จะทำงาน และก่อให้เกิดความอึดอัดใจ ก็จะไม่สามารถรักษาพนักงานไว้ในองค์กรได้อยู่ดี




ที่มา : https://www.aihr.com/blog/skills-taxonomy/

https://www.linkedin.com/business/learning/blog/learning-and-development/what-is-a-skills-taxonomy-and-why-do-you-need-it

bottom of page