
แค่ได้ยินคำว่าอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ พนักงานส่วนใหญ่อาจเบือนหน้าด้วยความรู้สึกน่าเบื่อ ยิ่งหากการอบรมนั้นเป็นรูปแบบ e-Learning เพราะในโลกอินเทอร์เน็ตนั้น เต็มไปด้วยส่งรบกวนสมาธิมากมาย วันนี้ WellExp เลยมี 10 เทคนิคดึงความสนใจ ที่ HRD สามารถนำไปปรับใช้ในการสร้างบทเรียน Learning & Development ได้
1) แนวทางแก้ไขปัญหา (Solutions to their problems)
ข้อแรกที่ดึงความสนใจผู้เรียนได้เป็นอย่างมากคือ การนำเสนอแนวทางการปัญหาใดปัญหาหนึ่งที่พนักงานจะได้รับ หลังจากการเรียนรู้ โดยสามารถดึงดูดด้วย หัวข้อบทเรียน ด้วยคำว่า “วิธีการ” หรือหากเป็นในภาษาอังกฤษจะนิยมใช้คำว่า “How to” โดยต้องระบุให้เฉพาะเจาะจงว่าบทเรียนนี้แก้ปัญหาอะไร และจะยิ่งดึงดูดความสนใจมากขึ้นหากระบุเพิ่มเติมด้วยว่าแก้ปัญหาให้ใคร โดยสามารถทำภาพใส่ข้อความดังกล่าววางไว้ที่มุมซ้ายบน ก็จะดึงดูดความสนใจได้มากขึ้น
2) การเปรียบเทียบ (Comparison)
จากผลการศึกพบว่าสมองคนเรานั้นให้ความสำคัญกับสิ่งใหม่หรือสิ่งที่แตกต่าง และคนเรานั้นให้ความสนใจกับเรื่องที่ดูน่าประหลาดใจหรือคาดไม่ถึง ดังนั้นหากบทเรียนเต็มไปด้วยเนื้อหาที่สร้างความประหลาดใจ ก็สามารถที่จะดึงดูดความสนใจได้ Carmine Gallo ผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวว่า สมองของคนเรานั้น ได้รับการปลูกฝังให้มองหาสิ่งแปลกใหม่ โดดเด่น น่าลิ้มลองเพื่อสนองความต้องการ ดังนั้นเพื่อการกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความสนใจในบทเรียนตรงหน้า บทเรียนควรจะประกอบไปด้วยสิ่งที่ให้ผู้เรียนได้ครุ่นคิดตาม ไม่ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบสิ่งใหม่กับสิ่งเก่า หรือเป็นคำถามชวนคิดถึงความแตกต่างระหว่างการทำและไม่ทำตามบทเรียนนั้น เป็นต้น
3) ภาพ (Visuals)
ภาพ สามารถแทนความหมายได้มากมาย และคนเราส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับภาพโดยธรรมชาติ เพราะง่ายต่อการแยกเยอะเข้าใจ และช่วยให้จำได้ง่ายขึ้น สำหรับการเรียนรู้นั้น สามารถใช้ภาพในการดึงดูดความสนใจและเป็นตัวกำหนดลักษณะของบทเรียน เช่น บทเรียนนี้เป็นการสอนวิธีการ ก็สามารถใช้ภาพเรียงต่อกันเพื่อทำแสดงเป็นลำดับขั้นตอน หากบทเรียนนั้นเป็นการเปรียบเทียบ ก็ใช้ภาพสื่อความแตกต่างและวางคนละฝั่งซ้ายขวา โดยผลการศึกษาของ Nielsen พบว่าผู้คนจะให้ความสนใจกับภาพถ่ายที่ประกอบด้วยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง แต่เพิกเฉยต่อภาพโทนนุ่มนวลสวยงามที่นำเสนอเพื่อความดูดีเพียงอย่างเดียว
4) การตั้งคำถาม (Questions)
คำถาม เป็นการเชิญชวนให้ผู้คนตอบรับหรือให้การมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน มากกว่าการรับรู้ข้อมูลที่ถูกป้อนฝ่ายเดียว เพราะการตั้งคำถามจะกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิด ไตร่ตรองถึงสิ่งที่พวกเขากำลังเรียนรู้ ซึ่งสามารถช่วยให้ผู้เรียนไม่เพียงแต่เก็บข้อมูลได้มากขึ้น แต่ยังช่วยกระตุ้นให้พวกเขาได้ประยุกต์สิ่งที่เรียนเพื่อแก้ไขปัญหาการทำงานที่ต้องเผชิญอยู่ได้
5) อารมณ์ (Emotions)
สิ่งเร้าอารมณ์จะดึงดูดความสนใจของผู้คนได้ทันที ยิ่งไปกว่านั้น สมองยังจดจำประสบการณ์ทางอารมณ์ได้ดีกว่าอย่างอื่น ในบทเรียน HRD สามารถกระตุ้นการตอบสนองทางอารมณ์ โดยใช้สื่อต่างๆ เช่น เรื่องราวตัวอย่างที่น่าสนใจในรูปแบบ วิดีโอหรือรูปภาพ ก็จะสามารถกระตุ้นอารมณ์ร่วมได้ รวมถึงยังสามารถสร้างความประทับใจในบทเรียน และทำให้พนักงานนั้นจดจำได้มากขึ้น
6) เรื่องเล่า (Storytelling)
เรื่องเล่าหรือ Storytelling นั้น นับว่าเป็นรูปแบบการจำตามธรรมชาติของสมอง เพราะการดำเนินชีวิตของคนเรานั้นเต็มไปด้วยประสบการณ์ที่มาเรื่องราวผ่านการรับรู้และกักเก็บความจำโดยสมอง เรื่องเล่า จึงให้ภาพจำได้ดีกว่า เข้าใจได้ดีกว่า และฟังง่ายกว่าสื่อสารในรูปแบบอื่น ดังนั้น หาก HRD สร้างบทเรียนเป็นเรื่องเล่าง่ายๆ จะช่วยมีแนวโน้มช่วยให้พนักงานสนใจฟังเรื่องราวและจดจำได้มากขึ้น
7) ความเด่นชัด (Contrast)
โดยปกติสมองมักโดนดึงดูดด้วยอะไรที่เด่นเห็นชัด องค์ประกอบที่อยู่ในบทเรียนก็เช่นเดียวกัน หากบทเรียนนั้นเต็มไปด้วยรูปแบบที่เหมือนกันซ้ำ ๆ ไม่มีอะไรโดดเด่น ก็ทำให้สมองรู้สึกเบื่อหน่ายได้ ดังนั้นในบทเรียนควรสอดแทรกองค์ประกอบที่ทำให้เกิดความแตกต่าง โดดเด่นและเห็นชัด เช่น เพิ่มสีตัวอักษรในเรื่องเด่นๆ เปลี่ยนขนาดหรือตัวอักษรเพื่อดึงดูดความสนใจ แทนที่จะเป็นรูปแบบเดิมทั้งบทเรียน
8) ข้อโต้แย้ง (Controversy)
เป็นเรื่องปกติที่เวลามีสิ่งใดที่สร้างความตกใจ ไม่น่าเชื่อ ย่อมดึงดูดความสนใจใครรู้ได้มากกว่าเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป บทเรียนก็เช่นเดียวกัน หากเริ่มด้วยสถิติ ข้อเท็จจริงที่ไม่น่าเชื่อ ก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งทีดึงดูดความสนใจของผู้คนได้ ดังนั้น HRD สามารถค้นคว้าข้อมูลสถิติข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน มาดึงดูดความสนใจในบทเรียนได้
9) ความกะทัดรัด (Brevity)
แทนที่จะใช้เวลา 60 นาทีในการเรียน ให้เปลี่ยนมาเป็นบทเรียนฉบับสั้นๆ ไม่เกิน 5 นาที หรือเป็นในรูปแบบ Micro Learning ผ่านแอปพลิเคชัน โดยทำให้บทเรียนมีความกระชับ ตรงประเด็น และใช้เวลาเรียนรู้เพียงไม่กี่นาที ก็จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถมีสมาธิกับบทเรียนตรงหน้าได้ง่าย โดยเฉพาะหากพนักงานที่ไม่ได้ประจำออฟฟิศ หรือต้องออกนอกพื้นที่เป็นส่วนใหญ่ การเรียนผ่านแอปพลิเคชัน ที่สามารถให้การเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา ก็จะสะดวกสำหรับพนักงานได้มากขึ้น
10) แสดงเป็นรายการ (list)
แน่นอนว่าบทเรียนที่เต็มไปด้วยตัวหน้าสื่อยาวเหยียดไม่ต่างกับการอ่านหนังสือ นั้นสามารถทำให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่ายกับบทเรียนได้ ดังนั้นการแตกบทเรียนออกมาเป็นหัวข้อที่สำคัญ เน้นเฉพาะในความสั้นๆ ก็จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจประเด็นได้ตรงจุดมากขึ้น
จะเห็นได้ว่า 10 เทคนิคดังกล่าวข้างต้น HRD สามารถนำไปปรับใช้ได้ทุกบทเรียนใน L&D เพื่อดึงดูดความสนใจให้พนักงานได้มีสมาธิกับสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่ายขึ้น ยิ่งหากนำเทคนิคดังกล่าวไปประยุกต์ใช้รวมกันได้มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งช่วยให้บทเรียนมีความน่าสนใจมากขึ้นเท่านั้น และนอกจากการดึงดูดความสนใจในบทเรียน อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องคำนึงคือความสะดวกในการเรียนรู้ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา ก็จะยิ่งทำให้พนักงานมีส่วนร่วมกับบทเรียนได้ง่ายขึ้น
ข้อมูลอ้างอิง