
ในการทำงานนั้น นิสัยบางประการอาจส่งผลทั้งต่อประสิทธิภาพการทำงาน ต่อเพื่อนร่วมงาน และต่อองค์กรได้ วันนี้ WellExp จะพาไปรู้จัก กับ 8 มิติของกิจกรรมที่เชื่อมโยงกับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จนก่อให้เกิดนิสัยการปฏิบัติงานที่ดีได้ (8 Performance Habit Dimensions) ซึ่งมีทั้งปัจจัยทางด้านประสาทวิทวิยา จิตวิทยา และกลยุทธ์ด้านต่างq ที่เกี่ยวกับการสร้างนิสัยเพื่อพัฒนาศักยภาพการทำงาน ดังนี้
1. นิสัยการทำงานที่มาจากการทานอาหาร (Dietary Behavior)
พฤติกรรมการรับประทานอาหารส่งผลต่อร่างกาย และมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นอย่างมาก ดังนั้นควรส่งเสริมให้เกิดการโภชนาการที่ดีในหมู่พนักงาน อาทิ ส่งเสริมการทานอาหารเช้าในทุกวัน เพื่อป้องกันสมองอ่อนล้าและป้องกันสมองเสื่อมเป็นต้น
2. นิสัยการทำงานที่มาจากการออกกำลังกาย (Exercise)
การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นร่างกายที่แข็งแรง สุขภาพจิตที่มีความสุขดีขึ้นจากการหลั่งของสารเอ็นโดฟิน และการออกกำลังกายได้เป็นประจำ ก็เกิดจากการสร้างนิสัยที่ดีที่ทำเป็นกิจวัตร เช่น ออกกำลังกายหลังตื่นนอนทุกเช้า เป็นต้น
3. นิสัยการทำงานที่มาจากพฤติกรรมการนอน (Sleep)
การนอนหลับเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในหลายด้าน ทั้งร่างกายที่ขาดเรี่ยวแรงในการทำงาน สมองที่อ่อนล้าขาดประสิทธิภาพในการคิดวิเคราะห์ และจิตใจไม่ผ่อนคลายจนส่งผลต่อบรรยากาศในการทำงาน ดังนั้นการส่งเสริมให้เกิดการนอนอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ
4. นิสัยการทำงานที่มาจากการมีสุขภาพจิตที่ดี (Psychological Well-Being)
จากการวิจัยต่างๆ ได้พิสูจน์แล้วว่า สุขภาพจิตที่ดีนั้นส่งผลต่อการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นการทำสมาธิ การฝึกจิตใจให้มีความผ่อนคลาย การจัดการความเครียด การมองโลกในแง่บวก จึงเป็นพฤติกรรมที่ควรส่งเสริมให้เกิดเป็นนิสัย เป็นต้น
5. นิสัยการทำงานที่มาจากการส่งเสริมการเรียนรู้ (Learning)
การเรียนรู้นั้นคู่กับการฝึกปฏิบัติ ดังนั้นการเรียนรู้สิ่งต่างๆ เพื่อให้เกิดผลสำเร็จนั้นต้องมาจากการลงมือทำซ้ำๆ เพื่อความเข้าใจและนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นกิจกรรมที่กระตุ้นการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ก็สามารถหลอมรวมเป็นนิสัยในการทำงานที่ดีได้
6. นิสัยการทำงานที่มาจากส่งเสริมผลิตผล (Productivity)
ผลิตผลหมายถึง การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงานและประสิทธิผลที่ได้ ดังนั้น กลยุทธ์ในการส่งเสริมผลิตผลต่างๆ โดยอาศัยการเปลี่ยนนิสัยเป็นรากฐาน ก็ก่อให้เกิดนิสัยการทำงานที่ดีได้ เช่น วิธีการลดสิ่งรบกวนสมาธิให้น้อยที่สุด ก็ทำให้เกิดนิสัยนิสัยในการจัดการการใช้โทรศัพท์ หรือใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กอย่างมีประสิทธิภาพ
7.นิสัยการทำงานที่มาจากการฝึกการทำงานของสมองส่วนหน้า (Executive Functioning)
การฝึกการทำงานของสมองส่วนหน้า จะช่วยให้ช่วยให้เราสามารถควบคุม ความคิด อารมณ์ พฤติกรรม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่เราต้องการได้ โดยผู้ใหญ่วัยทำงาน หากได้รับการฝึกฝนทางด้านนี้มาตั้งแต่เด็ก ก็จะทำให้เป็นคนที่มีความสามารถในการวางแผนจัดการ มีการจัดระเบียบชีวิตและการทำงานที่ดี และมีทักษะแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้
8. นิสัยการทำงานที่มาจากทักษะความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)
การทำงานในทุกๆ วัน มักต้องเจอปัญหาหรือสิ่งใหม่ๆ ที่เราต้องเรียนรู้ สังเคราะห์ และหาหนทางแก้ไข ซึ่งสิ่งที่ต้องใช้ก็คือความคิดสร้างสรรค์ ดังนั้นการเรียรรู้ที่กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ ล้วนเชื่อมโยงในการสร้างนิสัยการทำงานให้ได้ประสิทธิภาพ เช่น การฝึกการคิดเชิงบวก การฝึกคิดย้อนศร การฝึกคิดนอกกรอบ เป็นต้น
สุดท้ายนี้ WellExp อยากฝากไว้ว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีนิสัยการในทำงานที่ดีขึ้นนั้นเป็นสิ่งสำคัญก็จริง แต่การรักษานิสัยเดิมที่ดีๆ นั้น ก็เป็นสิ่งที่ต้องรักษา ดังนั้นเมื่อองค์กรมีแผนในการส่งเสริมเพื่อให้เกิดพฤติกรรมใหม่ๆ ด้วยนโยบายเสริมแรงเป็นรางวัลต่างๆ การเสริมแรงให้กับพนักงานที่มีพฤติกรรมการทำงานที่ดีก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม
ข้อมูลอ้างอิง:
https://www.insperity.com/blog/how-to-form-habits/
https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fpsyg.2020.01815/full
https://rapport.tw/2017/02/27/music-at-work/