
รู้ไหมว่า!!? 69% ของพนักงานจะทำงานอย่างขยันขันแข็งมากขึ้น หากได้รับคำชมและเห็นคุณค่าจากเจ้านาย และ 21% ของบริษัทที่พนักงานมีส่วนร่วมสูงมีแนวโน้มที่จะทำกำไรได้มากกว่าบริษัทที่พนักงานไม่มีส่วนร่วม
Employee Engagement ดูเหมือนจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ เพราะหลายคนอาจจะกำลังคิดว่า ไม่มีส่วนร่วม ไม่ต้องผูกพันกับองค์กรก็ไม่เป็นอะไรหรอก แค่ทำงานให้เสร็จก็พอ แต่จริง ๆ แล้วสำคัญยิ่งกว่านั้น! การที่พนักงานมีส่วนร่วมส่งผลดีในหลาย ๆ แง่มุม
รักษา ช่วยรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรได้นานมากยิ่งขึ้น ยิ่งพนักงานมีส่วนร่วมและผูกพันกับองค์กรมากเท่าไหร่ ยิ่งลดโอกาสการลาออกมากเท่านั้น
ดึงดูด ดึงดูดเหล่า Talent และคนมีความสามารถให้อยากมาร่วมงานในองค์กรมากขึ้น เนื่องจากอัตราการลาออกที่ต่ำ วัฒนธรรมองค์กร รวมถึงสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดูแฮปปี้มากกว่าองค์กรที่พนักงานไม่มีส่วนร่วมเลย
เพิ่มขึ้น เพิ่มความ Productive ภาพลักษณ์องค์กรที่ดี รวมถึงการให้บริการลูกค้าที่ดีขึ้น การที่พนักงานมีความสุขกับงานของตัวเอง เพื่อนร่วมงาน หัวหน้า และวัฒนธรรมองค์กร จะส่งผลให้พวกเขาเต็มใจและยินดีที่จะให้บริการมากกว่าพนักงานที่ไม่ได้มีความสุขกับงานของตัวเอง
จากข้อดีต่าง ๆ ที่ยกมาข้างต้น ทำให้บริษัท Top ของโลก มองเห็นคุณค่าและความสำคัญของ Employee Engagement จึงพัฒนาและปรับปรุงนโยบายต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา และปี 2023 นี้ ก็ได้สร้างมาตรฐานให้สูงขึ้นไปอีก ถึงแม้ว่าจะมีการ Lay Off คนออกเป็นจำนวนมาก แต่องค์กรเหล่านี้ก็ยังคงให้ความสำคัญกับคนที่ยังอยู่อย่างมากเช่นกัน วันนี้จึงจะพามาส่องนโยบายเกี่ยวกับ Employee Engagement ของ 4 บริษัทระดับโลก เผื่อใครอยากจะยืมไปเป็นไอเดียให้กับบริษัทตัวเอง!
Google เชื่อว่าพนักงานที่มีความสุขจะส่งผลลัพธ์ให้งานออกมาดีขึ้น ดังนั้นจึงให้ความสำคัญต่อ well-being และ การพัฒนาของพนักงานเป็นอย่างมาก
Flexibility and Innovative Culture: กฎ 20/80 ของ Google ถูกสร้างมาเพื่อให้โอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองในเรื่องที่พนักงานสนใจ พนักงานจะมีเวลา 20% ในการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ หรือทำกิจกรรมที่ช่วยให้ตัวเองมีแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน
Comprehensive Benefits: สวัสดิการที่ครอบคลุม Google ให้ความสำคัญกับความสุขของพนักงาน ดังนั้นจึงมีสวัสดิการที่ครอบคล6มในทุกแง่มุมเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตให้กับพนักงาน เช่น เงินสนับสนุนค่ารถ การตรวจสุขภาพฟรี ทำฟันฟรี สวัสดิการพบแพทย์ รวมถึงช่วยเหลือค่าทำศพพ่อแม่
Open Communication: Google โฟกัสอย่างมากในการสื่อสารและรับฟังในองค์กร ทั้งยังมีการพูดคุยเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในทุก ๆ วัน
Focus on Wellness: Google มีการจัดโปรแกรมเพื่อสุขภาพให้พนักงาน ไม่ว่าจะเป็น โยคะ หรือการนวดผ่อนคลาย
Mastercard
Mastercard เป็นบริษัทระดับโลกที่มีสาขาทั่วโลก และมีสำนักงานในหลาย ๆ ประเทศ ทำให้การจัดการดูแล และจะดึงดูดให้พนักงานผูกพันต่อองค์กรทำได้ยาก ดังนั้น Mastercard จึงคิดกลยุทธ์เพื่อสร้าง Employee Engagement
Creating a Learning Environment: การพัฒนาของพนักงานถือเป็นส่วนสำคัญขององค์กร บริษัทจึงมีการจัดให้มีโปรแกรมพัฒนาตัวเอง เพื่อส่งเสริมให้พนักงานได้มีโอกาสเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ในเรื่องที่ตนสนใจ
Forward-looking Employee Development: เตรียมพร้อมเพื่ออนาคตเสมอ Mastercard จัดให้มีการ Reskills และ Upskills กันตลอด พร้อมทั้งเตรียมให้พนักงานมีทักษะที่สามารถตอบโจทย์ในยุคเทคโนโลยีและ AI ได้อย่างเต็มที่อีกด้วย
Holistic Perks: “when you feel well, you live well – Personally and Professionally.” ถือเป็นนโยบายสำคัญของ Mastercard ที่ใส่ใจในเรื่องความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน เพราะองค์กรเชื่อว่า พนักงานที่มีสุขภาพกายและจิตดี จะส่งผลดีต่องานเช่นกัน จึงมีการจัดสวัสดิการต่าง ๆ ให้ เพื่อดูแลพนักงาน ไม่ว่าจะเป็น การซัพพอร์ตด้านการเงิน การดูแลสุขภาพ รวมถึงให้พ่อแม่มือใหม่สามารถลาหยุดงานได้ และให้การซัพพอร์ตการเงินกับเด็กแรกเกิดและการรับเลี้ยงดูเด็กอีกด้วย
Apple
Apple โฟกัสกับความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพนักงานและความ Productive จึงลงทุนให้กับพนักงานอย่างมาก
A fandom Culture: Apple สร้างวัฒนธรรมให้พนักงานของตัวเองเป็นแฟนคลับตัวยงของแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นการลดราคาผลิตภัณฑ์ของ Apple ให้สูงถึง 25% ให้พนักงานมีสิทธิใช้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของแบรนด์อย่างเต็มที่
Great Employee Experiences: สร้างประสบการณ์ที่ดีในการทำงาน Apple สร้าง Employee Engagement โดยการให้พนักงานได้มีส่วนร่วมพัฒนาและสร้างสรรค์ นวัตกรรมใหม่ ๆ และดีไซน์ต่าง ๆ ของ Apple วัฒนธรรมเช่นนี้ช่วยสร้างความยืดหยุดและประสบการณ์ที่ดีในการทำงาน
Competitive Benefits and Compensation: นอกเหนือจากเงินเดือนแล้ว Apple ยังได้รวบรวมสิทธิพิเศษและสิ่งจูงใจสำหรับพนักงาน บริษัทให้หุ้นฟรีแก่พนักงานทุกคนด้วยทุนสูงถึง $2,000 สิทธิประโยชน์เหล่านี้ทำให้พนักงานรู้สึกได้เป็นส่วนหนึ่งของบริษัท ทั้งยังส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพนักงานในการทำงานมากอีกด้วย
Microsoft
Microsoft ถูกโหวดว่าเป็นองค์กรที่น่าร่วมงานด้วยที่สุดในหลาย ๆ ปีที่ผ่านมา เนื่องจากวัฒนธรรมองค์กรที่ให้ความสำคัญกับพนักงาน ทำให้ยังเป็นองค์กรที่ติดท็อปอยู่เสมอ
Efficient Employee Feedback System: Microsoft มีแพลตฟอร์มที่พัฒนาเพื่อช่วยในการให้ติดต่อสื่อสารกับฝ่ายบริหารเป็นไปอย่างราบรื่น พร้อมยังช่วยในเรื่องการให้ข้อมูลในเรื่องความต้องการของพนักงานได้อีกเช่นกัน
Team-Building and Networking Opportunities: การสร้างทีม องค์กรมีกิจกรรมเพื่อสร้างความเป็นทีมหลาย ๆ กิจกรรม พร้อมส่งเสริมให้ทีมมีการแชร์และมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันอยู่บ่อย ๆ
Professional Development: Microsoft มีความตั้งใจอย่างยิ่งที่จะสร้างพนักงานให้มีสกิลสูง ผ่านการเรียนรู้และการโค้ชจากในองค์กร ทั้งนี้บริษัทยังสนับสนุนพนักงานที่มีความต้องการที่เรียนรู้อย่างเต็มที่
จะเห็นได้ว่าองค์กรจะขับเคลื่อนไปได้ไกล เพราะมีพนักงานเป็นส่วนสำคัญในการร่วมพาองค์กรก้าวไปข้างหน้า ดังนั้นการลงทุนสนับสนุนให้พนักงานมีวิถีความเป็นอยู่ที่ดี มีการพัฒนาตัวเอง และมีสังคมในการทำงานที่แฮปปี้ จะทำให้พนักงานรู้สึกผูกพันและสร้างผลงานที่ดีขึ้น บริษัทระดับโลกหลาย ๆ บริษัทที่ยกมา ก็ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอันดับแรก ๆ เลยเช่นกัน ดังนั้นหากองค์กรอื่น ๆ อยากนำไปปรับใช้แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ให้เราช่วยดูแล
WellExp แพลตฟอร์มช่วยสร้าง Employee Engagement ไม่ว่าจะเป็นการช่วยในการเรียนรู้ การให้รางวัลตอบแทน การให้สวัสดิการที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของพนักงาน โดยการนำเทคโนโลยี Gamification มาช่วยให้พนักงานรู้สึกสนุกสนาน และไม่จำเจ พร้อมได้พ้อยต์เป็นรางวัลและแรงจูงใจ โดยพ้อยต์สามารถนำไปแลกสวัสดิการได้หลากหลายตามไลฟ์สไตล์ความชอบของตนเอง เช่น การเสริมความงาม การช้อปปิ้ง จ่ายค่าน้ำค่าไฟ ส่วนลดค่าน้ำมัน การ Subscribe สตรีมมิ่งต่าง ๆ และอีกมากมาย หากสนใจให้เราดูแล
เพราะพนักงานคือส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร